Bid/ Ask เป็นเส้นแบ่งของการกำหนดราคาการซื้อขายในในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งจะเป็นเส้นแบ่งของราคาเปิดและราคาปิด อธิบายเหตุการณ์แบบนี้ก็เหมือนกับร้านทองทั่วไปในประเทศก็จะมีราคาซื้อ – และราคาขายของทองคำอยู่ ถ้าหากเราซื้อทองในเวลานั้น แล้วขายคืนร้านทองไปเราก็จะไม่ได้ราคาที่เราซื้อมาตอนแรก แต่จะเป็นราคาที่ร้านทองกำหนดราคารับซื้อคืน ถ้าอธิบายกับตลาดฟอเร็กซ์ก็คือ
- เส้น Bid คือราคาที่อ้างอิงในการถือออเดอร์ BUY แต่ในการเข้าซื้อในตอนแรกนั้น เราจะได้ราคาที่เส้น Ask
- เส้น Ask คือราคาที่อ้างอิงในการถือออเดอร์ SELL แต่ในการเข้าซื้อในตอนแรกนั้น เราจะได้ราคาที่เส้น Bid
- Spread คือช่องกว้างระหว่างเส้น Bid และเส้น Ask
- เส้น Ask คือราคาที่อ้างอิงในการถือออเดอร์ SELL แต่ในการเข้าซื้อในตอนแรกนั้น เราจะได้ราคาที่เส้น Bid
- Spread คือช่องกว้างระหว่างเส้น Bid และเส้น Ask
แน่นอนว่าในการเข้าออเดอร์ไม่ว่าจะ BUY หรือจะ SELL ในตอนแรกออเดอร์ของเราจะติดลบก่อน ซึ่งนั่นมาจากค่า Spread หรือช่องกว้างระหว่าง Bid และ Ask โดยเราจะต้องเสียค่า Spread เป็นค่าคอมมิชชั่นให้กับทางโบรกเกอร์นั่นเอง
การตั้งค่าโชว์เส้น Ask บน MT4
1. คลิ๊กขวาที่กราฟ แล้วเลือก Properties หรือ กด F8
อธิบายจากภาพ : เป็นการเข้าสู่การตั้งค่าการแสดงผลของเส้น Ask line
หมายเหตุ : จะเป็นการตั้งค่าการใช้งานแสดงผลของรูปแบบบต่างๆ ของหน้าต่าง MT4 ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะของสี, พื้น Background, และลักษณะของเส้นต่างๆ ก็สามารถตั้งค่าตรงนี้ได้เลย
2. เลือก Common
อธิบายจากภาพ : เมื่อเลือก Common เสร็จแล้ว ให้คลิกเครื่องหมายถูกที่ Show Ask line แล้วกดยืนยันที่ปุ่ม OK การแสดงผลของเส้น Ask line ก็จะปรากฏขึ้น ดังภาพต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าคู่เงิน GBPCHF นั้นมีช่องกว้างของราคาอยู่ 2 เส้น ซึ่งนั่นก็คือเส้น Bid จะอยู่ด้านล่างและเส้น Ask จะอยู่เส้นบน โดยระยะห่างของทั้ง 2 เส้นนั้นคือค่า Spread
BUY Order
ในการเปิดออเดอร์ BUY นั้นอย่างที่กล่าวข้างต้นมานั้น ตอนเปิดออเดอร์เริ่มแรกเราจะได้ราคาที่เส้น Ask แต่ราคาอ้างอิงของเราจะเป็นเส้น Bid หรือเมื่อเราจะทำการคัตออเดอร์ทิ้ง เส้น Bid ก็จะเป็นราคาที่แท้จริงในการคิดผลกำไร – ขาดทุนนั่นเอง โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
อธิบายจากภาพตัวอย่าง
1. ราคาที่เราจะเข้า Order Buy อยู่ที่ 1.07616 (เส้น Ask)
2. ระยะห่างระหว่าง Bid/Ask อยู่ที่ 1.07616 – 1.07605 = Spread 11 points
2. ระยะห่างระหว่าง Bid/Ask อยู่ที่ 1.07616 – 1.07605 = Spread 11 points
วิธีการคำนวน ( ขนาด Lots x Spread = ค่าคอมมิชชั่นที่เราเสียให้โบรกเกอร์ )
เช่น Lots 0.05 Spread 11 points
0.05 X 11 = 0.55 $
เช่น Lots 0.05 Spread 11 points
0.05 X 11 = 0.55 $
3. การปิดออเดอร์จะใช้เส้น Bid เป็นราคาปิด หรือราคาอ้างอิง
SELL Order
ในการเปิดออเดอร์ SELL ตอนเปิดออเดอร์เริ่มแรกเราจะได้ราคาที่เส้น Bid แต่ราคาอ้างอิงของเราจะเป็นเส้น Ask หรือเมื่อเราจะทำการคัตออเดอร์ทิ้ง เส้น Ask จะเป็นราคาที่แท้จริงการคิดผลกำไร – ขาดทุนนั่นเอง ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
อธิบายจากภาพตัวอย่าง
1. ราคาที่เราจะเข้า Order Sell อยู่ที่ 1.07604 (เส้น Bid)
2. ระยะห่างระหว่าง Bid/Ask อยู่ที่ 1.07615 – 1.07604 = Spread 11 points
2. ระยะห่างระหว่าง Bid/Ask อยู่ที่ 1.07615 – 1.07604 = Spread 11 points
วิธีการคำนวน ( ขนาด Lots x Spread = ค่าคอมมิชชั่นที่เราเสียให้โบรกเกอร์ )
เช่น Lots 0.05 Spread 11 points
เช่น Lots 0.05 Spread 11 points
0.05 x 11 = 0.55 $
3. TP/SL ก็ต่อเมื่อ เส้น Ask วิ่งมาชนเส้น TP/SL ที่ตั้งไว้ ส่วน Bid คือจุดเข้า Order (Sell Order)
Spread
Spread (สเปรด) คือค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่นที่ใช้ในการเปิดออเดอร์เพื่อเข้าเทรดในตลาด Forex เมื่อเราเปิดออเดอร์จะเริ่มต้นด้วยการติดลบเสมอ โดยค่าสเปรดจะคิดได้จากผลต่างของราคา Bid และราคา Ask เป็นจำนวนจุดออเดอร์
(Bid = ราคาซื้อ , Ask คือ ราคา Sell )
ในช่องสี่เหลี่ยมสีแดงนั้นคือระยะห่างของเส้นราคา Bid และ เส้นราคา Ask โดยราคา Bid นั้นคือราคาตัวเลขสีดำ ส่วนเส้น Ask นั้น คือราคาตัวเลขสีส้ม การเข้า Buy หรือ Sell ดังรูปค่า Spread นั้น จะเท่ากับ 2.8 pip หรือ 28 จุด ( 1 pip = 10 จุด) โดยมีวิธีคิดจากการนำค่าความต่างของเส้นราคามาลบกันคือ 1.24779 – 1.24751 = 0.00028 โดยค่า Spread คิดจากทศนิยมตัวที่ 4 นั้นคือ 2.8 pip นั่นเอง
ตัวอย่างการเข้าเทรด Forex
จากภาพเป็นการเข้าออเดอร์ด้วย Lot 0.1 จะเห็นว่า ค่า Spread ในการเข้าเทรดนั้นคือ 1.4 pip หรือ 14 จุด โดยเส้นราคา Bid และ Ask ห่างกัน 14 จุดนั่นเอง (ค่าคอมมิชชั่นที่ต้องเสียให้โบรกเกอร์เริ่มต้น 1.4 USD)
สรุป : ค่า Spread นั้นจะคิดทุกๆ ครั้งของการเปิดออเดอร์เข้าเทรดค่าเงิน โดยสำหรับโบรกเกอร์ที่เป็นค่าเงิน ทศนิยม 5 หลักนั้นจะเห็นว่ามีค่า Spread ค่อนข้างต่ำ เป็นผลดีสำหรับนักเทรด แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกัน นั่นคือเวลาที่ตลาดมีความรุนแรงมากๆ เส้น Bid และ เส้น Ask จะทำการขยายราคาออกไป ถ้าหากเราเข้าเทรดในช่วงเวลาที่ตลาดแปรปรวนมากๆ Spread ที่เราต้องเสียอาจจะมากถึง 10 pip หรือ 100 จุด ก็เป็นได้ แตกต่างกันที่โบรกเกอร์ที่มีค่าเงินทศนิยม 4 ตำแหน่งนั้น ค่า Spread ค่อนข้างจะสูง โดยค่าเงินพื้นฐาน EURUSD นั้น Spread ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 2 pip แต่ข้อดีของโบรกเกอร์นี้ ค่า Spread จะคงที่ตลอด เมื่อเราเข้าเทรดในตลาดค่าเงินที่มีความแปรปรวนสูงๆ เราก็จะเสียค่า Spread แค่ 2 pip เหมือนเดิม
สรุป : ค่า Spread นั้นจะคิดทุกๆ ครั้งของการเปิดออเดอร์เข้าเทรดค่าเงิน โดยสำหรับโบรกเกอร์ที่เป็นค่าเงิน ทศนิยม 5 หลักนั้นจะเห็นว่ามีค่า Spread ค่อนข้างต่ำ เป็นผลดีสำหรับนักเทรด แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกัน นั่นคือเวลาที่ตลาดมีความรุนแรงมากๆ เส้น Bid และ เส้น Ask จะทำการขยายราคาออกไป ถ้าหากเราเข้าเทรดในช่วงเวลาที่ตลาดแปรปรวนมากๆ Spread ที่เราต้องเสียอาจจะมากถึง 10 pip หรือ 100 จุด ก็เป็นได้ แตกต่างกันที่โบรกเกอร์ที่มีค่าเงินทศนิยม 4 ตำแหน่งนั้น ค่า Spread ค่อนข้างจะสูง โดยค่าเงินพื้นฐาน EURUSD นั้น Spread ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 2 pip แต่ข้อดีของโบรกเกอร์นี้ ค่า Spread จะคงที่ตลอด เมื่อเราเข้าเทรดในตลาดค่าเงินที่มีความแปรปรวนสูงๆ เราก็จะเสียค่า Spread แค่ 2 pip เหมือนเดิม