Currency คือสกุลเงินที่มาอยู่ในตระกร้าค่าเงินของตลาดฟอเร็กซ์ที่เป็นสากล ซึ่งเหล่าสกุลเงินต่างๆ จะมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นเจ้าของสุกลเงินดังกล่าว โดยสกุลเงินหลักๆ ที่อยู่ในตระกร้าค่าเงินของตลาดฟอเร็กซ์จะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. USD สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
2. GBP สกุลเงินปอนด์อังกฤษ
3. EUR สกุลเงินยูโร
4. JPY สกุลเงินเยนญี่ปุ่น
5. AUD สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย
6. NZD สกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์
7. CHF สกุลเงินฟรังค์สวิตเซอแลนด์
8. CAD สกุลเงินดอลลาร์แคนนาดา
หมายเหตุ : คำว่าตระกร้าค่าเงินนั้น เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง โดยคิดค่าเงินโดยคำนวณจากเงินทุกสกุลเงินที่มีอยู่ในธนาคาร การที่จะเป็นสกุลเงินที่เป็นสากลและทุกคนบนโลกยอมรับในสกุลเงินนั้นๆ ต้องเป็นสกุลเงินที่เข้าไปอยู่ในตระกร้าของ IMF (International Monetary Fund หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
ทั้ง 8 สกุลเงินนี้ เป็นสกุลเงินหลักในตระกร้าค่าเงิน ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่นว่า ค่าเงินจะไหลไปตามกลไกของเศรษฐกิจและปริมาณการซื้อขายอย่างแท้จริง ที่จะไม่มีการแทรกแซงหรือการปั่นราคาของสกุลเงินดังกล่าว แม้จะเป็นหน่วยงานของรัฐบาลประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินนั้นๆ ก็ไม่สามารถทำได้ แต่วิธีส่วนใหญ่ที่ทางรัฐบาลทำได้ก็เป็นแค่การกระตุ้นหรือ ออกมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินออกมา จึงจะส่งผลให้ค่าเงินไหลไปตามแรงซื้อขาย ที่มีปริมาณมากขึ้นนั่นเอง
ยังมี Currency บางชนิดที่ไม่ได้ถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง เนื่องจากอาจจะไม่เป็นที่คุ้นหู หรืออาจจะถูกจัดอยู่ในสกุลเงินรอง โดยที่สกุลเงินดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
1. NOK สกุลเงินโคเนอร์ นอร์เวย์
2. HKD สกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกง
3. SEK สกุลเงิน โครน สวีเดน
4. DKK สกุลเงิน โครน เดนมาร์ก
5. SGD สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์
6. ZAR สกุลเงิน แรนด์ แอฟริการใต้
และยังมีสกุลเงินอื่นๆ อีกมากมายที่ทางโบรกเกอร์หยิบยกมาไว้เป็นสินค้าสำหรับนักเทรดที่อยากลงทุนอยู่อีก รวมทั้งสกุลเงินดิจิตอลจำพวก Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC), Dogecoin (DOGE) ซึ่งในบางโบรกเกอร์จะมีกลุ่มสกุลเงินและสินค้าต่างๆ ในรายการเพื่อบริการนักเทรดอยู่อีกเยอะแยะมาก เอาเป็นว่าจะเน้นอธิบายตัวอย่างจากสกุลเงินหลักๆ เป็นฐานความรู้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาละกันครับ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : ในกลางปี 2016 รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นว่ากำลังประสบปัญหาค่าเงินเยน (JPY) แข็งค่าจนเกินไป ส่งผลให้เกิดสภาวะเงินฝืด ซึ่งส่งผลให้สภาพคล่องของเงินหมุนเวียนภายในประเทศนั้นไม่สมดุลกัน รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกมาตรการดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งก็หมายถึงการฝากเงินกับธนาคารแทนที่จะได้ดอกเบี้ยเป็นเงินเพิ่มในบัญชี แต่กลับต้องลดเงินจากบัญชีจากการฝากเงิน เหตุผลที่รัฐบาลออกนโยบายดอกเบี้ยติดลบนั้นก็เพื่อต้องการที่จะกระตุ้นภาคเศรษฐกิจให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศให้มากขึ้น
โดยในช่วงออกมาตรการแรกๆ ค่าเงินเยนญี่ปุ่นเกิดการอ่อนค่าลงในช่วงเริ่มแรก แต่ต่อมามาตรการของทางรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกลับส่งผลแย่หนักกว่าเดิม แทนที่ประชากรญี่ปุ่นจะหันมาใช้จ่ายกันให้มากขึ้นกลับกลายเป็นว่า ต้องถอนเงินออกจากธนาคารมาเก็บไว้ที่บ้าน ซึ่งยอดขายของตู้เซฟในช่วงเวลานั้นนับว่าขายดีมาก ประชาชนยอมที่จะเก็บเงินของตัวเองไว้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกมาตรการเดินหน้าขยับค่าเงินให้เข้าสู่สภาวะเงินเฟ้อเข้าใกล้ 2% ในปี 2017 ที่จะถึงนี้
โดยในช่วงออกมาตรการแรกๆ ค่าเงินเยนญี่ปุ่นเกิดการอ่อนค่าลงในช่วงเริ่มแรก แต่ต่อมามาตรการของทางรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกลับส่งผลแย่หนักกว่าเดิม แทนที่ประชากรญี่ปุ่นจะหันมาใช้จ่ายกันให้มากขึ้นกลับกลายเป็นว่า ต้องถอนเงินออกจากธนาคารมาเก็บไว้ที่บ้าน ซึ่งยอดขายของตู้เซฟในช่วงเวลานั้นนับว่าขายดีมาก ประชาชนยอมที่จะเก็บเงินของตัวเองไว้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกมาตรการเดินหน้าขยับค่าเงินให้เข้าสู่สภาวะเงินเฟ้อเข้าใกล้ 2% ในปี 2017 ที่จะถึงนี้
สรุป : สิ่งที่จะสื่อคือ เมื่อสกุลเงินได้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดฟอเร็กซ์ หรือถูกจับลงในตระกร้าค่าเงินแล้วนั้น รัฐบาลจะไม่สามารถแทรกแซงค่าเงินได้ ส่วนใหญ่การไหลเวียนของราคาค่าเงินนั้นๆ จะมาจากปริมาณการถือครองที่เกิดจากแรงซื้อจากทั่วทุกมุมโลกนั่นเอง ซึ่งในอนาคตค่าเงินหยวนของจีน (CNY) กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาดหรือเข้ามาในระบบตระกร้าสกุลเงิน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องหั่นค่าเงินหยวนในกลางปี 2015 ซึ่งทางรัฐบาลจีนเองประครองค่าเงินหยวนไว้ แต่เนื่องด้วยเศรษฐกิจที่ซบเซาเป็นอย่างมาก บวกกับราคาตลาดหุ้นจีนเองก็ตกไปกว่า 30% และที่วิกฤตไปกว่านั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของการส่งออก จึงจำเป็นที่จะต้องให้มีการเคลื่อนไหวไปตามอุปสงค์ – อุปทานในอนาคตต่อไป
Symbols คำว่า Symbols ในตลาดฟอเร็กซ์นั้นก็จะหมายถึงสัญลักษณ์ของคู่เงิน ระหว่างสกุลเงินหนึ่งเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง หรือจะหมายความว่า สกุลเงินหนึ่งแลกได้ในปริมาณเท่าไรของอีกสกุลเงินหนึ่งนั่นเอง ยกตัวอย่างในการเปรียบเทียบก็คือ 1 ดอลลาร์สหรัฐสามารถแลกเงินบาทไทยได้ 35 บาท เมื่อเกิดการจับคู่แลกเปลี่ยนนั้น Symbol ก็จะปรากฏขึ้น โดยการแลกครั้งนี้จะมีสัญลักษณ์ว่า USD/THB
Symbols จะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 อย่างคือ
1. ค่าเงินพื้นฐาน Base currency
2. ค่าเงินอ้างอิง Quote currency
2. ค่าเงินอ้างอิง Quote currency
ซึ่งจะอธิบายได้ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าสกุลเงิน EUR ที่เป็นตัวหน้านั้นคือ Base Currency หรือเป็นสกุลเงินพื้นฐานของ Symbol และสกุลเงิน USD ที่เป็นตัวหลังนั้นคือ Quote Currency หรือเป็นสกุลเงินอ้างอิงของ Symbol คู่เงิน EUR/USD นี้ โดยการอ่านหรือการใช้งานของ Symbol นี้จะยกให้ สกุลเงินพื้นฐานมีค่าเท่ากับ 1 เสมอ ซึ่งจะเปรียบเทียบกับสกุลเงินอ้างอิง หรือการนำไปแลกกับสกุลเงินอ้างอิงว่าจะแลกได้เท่าไร
จากภาพตัวอย่างนั้นจะเห็นว่ามีมีราคาอ้างอิงของ Symbol คู่ EUR/USD = 1.07440 ซึ่งจะอธิบายเป็นคำพูดได้ว่า 1 EUR แลกได้ 1.07440 USD หรือ 1.07440 ดออลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับ 1 ยูโรนั่นเอง
การแสดงผลของ Symbols ในโปรแกรมเทรด MT4
ในการแสดงผลของ Symbols นั้นจะอยู่ที่เมนู Market Watch ซึ่งจะมีรายการของคู่เงินต่างๆ อยู่มากมายให้เราได้เลือกซื้อขายตามใจชอบ ซึ่งจะเป็นการจับคู่กันของสกุลเงินต่างๆ ที่อยู่ในรายการคู่เงินที่ทางโบรกเกอร์นำมาเป็นสินค้าสำหรับนักลงทุน โดยมีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
ในการแสดงผลของ Symbols นั้นจะอยู่ที่เมนู Market Watch ซึ่งจะมีรายการของคู่เงินต่างๆ อยู่มากมายให้เราได้เลือกซื้อขายตามใจชอบ ซึ่งจะเป็นการจับคู่กันของสกุลเงินต่างๆ ที่อยู่ในรายการคู่เงินที่ทางโบรกเกอร์นำมาเป็นสินค้าสำหรับนักลงทุน โดยมีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าในเมนูของ Market Watch นั้นมีรายชื่อของคู่เงินต่างๆ มากมายที่ทางโบรกเกอร์มีไว้ให้เราทำการซื้อขาย หรือเรียกได้ว่ามีสินค่าอยู่มากมายให้นักลงทุนเลือกได้ตามใจชอบนั่นเอง ซึ่งในภาพนั้นจะประกอบไปด้วย Symbol, Bid, Ask และ ! ซึ่งหมายถึง Spread นั่นเอง โดย Bid ,Ask และ Spread จะถูกกล่าวในบทต่อไป (ถ้าหาก Market Watch ไม่มีในโปรแกรม MT4 ให้ใช้คีย์ลัดโดยการกด Ctrl + M)
การเรียงลำดับค่าเงินพื้นฐานกับค่าเงินอ้างอิง
ในการเรียงลำดับนั้นจะเป็นการนำตัวอย่างที่ได้อ้างอิงเบื้องต้นจาก 8 สกุลเงินหลักๆ โดยวิธีการจับคู่ของค่าเงินพื้นฐานกับค่าเงินอ้างอิงนั้น จะเป็น Symbols หรือสัญลักษณ์เฉพาะตัวเลย ไม่สามารถกำหนดได้ว่า ค่าเงินนั้นๆ จะเป็นได้ทั้งค่าเงินพื้นฐานหรือค่าเงินอ้างอิง ซึ่ง Symbols จะมาเป็นคู่เงินเฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่นคู่เงิน EUR/USD ซึ่งเป็นคู่เงินหลักๆ ของตลาดฟอเร็กซ์เลยก็ว่าได้ และไม่สามารถเลือกให้ USD เป็นค่าเงินพื้นฐานและ EUR เป็นค่าเงินอ้างอิงได้ (USD/EUR) โดยมีตัวอย่างการจับคู่เงินดังภาพต่อไปนี้
ในการเรียงลำดับนั้นจะเป็นการนำตัวอย่างที่ได้อ้างอิงเบื้องต้นจาก 8 สกุลเงินหลักๆ โดยวิธีการจับคู่ของค่าเงินพื้นฐานกับค่าเงินอ้างอิงนั้น จะเป็น Symbols หรือสัญลักษณ์เฉพาะตัวเลย ไม่สามารถกำหนดได้ว่า ค่าเงินนั้นๆ จะเป็นได้ทั้งค่าเงินพื้นฐานหรือค่าเงินอ้างอิง ซึ่ง Symbols จะมาเป็นคู่เงินเฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่นคู่เงิน EUR/USD ซึ่งเป็นคู่เงินหลักๆ ของตลาดฟอเร็กซ์เลยก็ว่าได้ และไม่สามารถเลือกให้ USD เป็นค่าเงินพื้นฐานและ EUR เป็นค่าเงินอ้างอิงได้ (USD/EUR) โดยมีตัวอย่างการจับคู่เงินดังภาพต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ามีสกุลเงินอยู่ 8 สกุลเงิน ซึ่งจากภาพ สรุปได้ว่าสกุลเงินที่อยู่ด้านซ้ายจะเป็นค่าเงินพื้นฐานและสกุลเงินที่อยู่ด้านขวาจะเป็นค่าเงินอ้างอิงเสมอตามลูกศรสรแดง ยกตัวอย่างการจับคู่เช่น(EUR/GBP), (GBP/NZD), (AUD/CHF), (USD/JPY), (NZD/USD) เป็นต้น ซึ่งวิธีการจับคู่นั้นจะนำไปใช้ประโยชน์ในการค้นหาคู่เงินจาก Market Watch ได้ง่ายขึ้น