Take Profit หรือที่เรียกกันย่อๆว่า TP เป็นการตั้งค่าจุดที่เป็นกำไรล่วงหน้า อธิบายก็คือหากเราตั้งค่าการใช้งานฟังก์ชั่น Take Profit และกำหนดเป้าหมายให้เรียบร้อย เมื่อออเดอร์ที่เราถืออยู่นั้นวิ่งมายังจุด Take Profit ที่เราตั้งค่าไว้ ออเดอร์ก็จะถูกปิดและเก็บกำไรเข้าพอร์ตลงทุนของเราทันที เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Take Profit นั่นเอง
Stop Loss หรือที่เรียกกันว่า SL เป็นการตั้งค่าจุดขาดทุนที่เหมาะสม เป็นฟังก์ชั่นที่มีไว้สำหรับป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพอร์ตลงทุน อธิบายก็คือหากเราตั้งค่าการใช้งานฟังก์ชั่น Stop Loss และกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เมื่อออเดอร์ที่เราถืออยู่นั้นวิ่งมายังจุด Stop Loss ที่เราตั้งค่าไว้ ออเดอร์ก็จะถูกปิดตัวลงและเงินก็ถูกหักออกจาก Balance หรือพอร์ตลงทุนของเราทันที เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า การขาดทุนจาก Stop Loss นั่นเอง
นอกจากนี้ คำว่า Stop Loss อาจจะใช้งานในการล็อคผลกำไรได้อีกด้วย เป็นการป้องกันการดีดกลับของกราฟ จะถูกใช้งานเมื่อออเดอร์ที่เราถืออยู่นั้นมี Profit เป็นบวกแล้ว แต่เรายังอยากจะถือออเดอร์ต่อไปเพื่อผลกำไรที่มากขึ้น แต่ก็ไม่อยากก็ไม่อยากรับความเสี่ยงจากการดีดกลับของกราฟที่อาจจะทำให้ Profit ของเรากลับไปติดลบ เราก็สามารถตั้งเส้น SL ให้ปิดที่กำไรได้ เราเรียกการเหตุการณ์นี้ว่า การล็อคกำไรโดยใช้เส้น SL
ประโยชน์ของ Take Profit และ Stop Loss
การใช้งานฟังก์ชั่น Take Profit และ Stop Loss นั้นจัดเป็น 1 ในระบบของการจัดการพอร์ตลงทุน หรือ Money Management เพื่อให้นักเทรดมีวินัยจากการลงทุน เนื่องจากถ้าเข้ามาอยู่ในวงการของตลาดฟอเร็กซ์แล้วนั้น การวางแผนการลงทุนและการกำหนดเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่มีความหมายอย่างมาก อีกทั้งการกำหนด TP และ SL ยังช่วยให้เราไม่จำเป็นต้องมาเฝ้ากราฟตลอดเวลา มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ เพราะว่าออเดอร์ที่เราการเข้าซื้อนั้น จะมีเส้น TP และ SL เป็นตัวกำหนดกำไร – ขาดทุนไว้แล้วเรียบร้อย
การใช้งานฟังก์ชั่น Take Profit และ Stop Loss นั้นจัดเป็น 1 ในระบบของการจัดการพอร์ตลงทุน หรือ Money Management เพื่อให้นักเทรดมีวินัยจากการลงทุน เนื่องจากถ้าเข้ามาอยู่ในวงการของตลาดฟอเร็กซ์แล้วนั้น การวางแผนการลงทุนและการกำหนดเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่มีความหมายอย่างมาก อีกทั้งการกำหนด TP และ SL ยังช่วยให้เราไม่จำเป็นต้องมาเฝ้ากราฟตลอดเวลา มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ เพราะว่าออเดอร์ที่เราการเข้าซื้อนั้น จะมีเส้น TP และ SL เป็นตัวกำหนดกำไร – ขาดทุนไว้แล้วเรียบร้อย
การใช้งานเส้น TP
การตั้งค่าเส้น TP นั้น มีวิธีการใช้งานอยู่ 2 วิธีคือ
1. การตั้งค่าใช้งานเส้น TP จากเมนูของออเดอร์
2. การลากเส้นออเดอร์ขึ้นเพื่อกำหนดจุด TP
2. การลากเส้นออเดอร์ขึ้นเพื่อกำหนดจุด TP
วิธีที่ 1 การตั้งค่าการใช้งาน TP จากเมนูของออเดอร์
หลังจากเปิดออเดอร์แล้ว หากเราต้องการตั้งค่า TP ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ T/P ของออเดอร์ที่เราต้องการตั้งค่าดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
หลังจากเปิดออเดอร์แล้ว หากเราต้องการตั้งค่า TP ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ T/P ของออเดอร์ที่เราต้องการตั้งค่าดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ารายการในช่องของ T/P นั้นยังคงเป็นเลข 0.000 อยู่ ซึ่งก็คือเรายังไม่ได้ทำการตั้งค่าการใช้งาน TP นั่นเองให้เราคลิกที่ตัวเลข 0.000 เพื่อตั้งค่า T/P จะได้ภาพดังต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าเราถือครองออเดอร์ USD/JPY โดยการเปิด BUY อยู่ และได้ราคาที่ 115.110 ให้เราทำการตั้งเป้า TP ที่ช่อง Take Profit ได้เลยสมมุติว่าเราต้องการกำไร 500 จุด ก็ให้เรานำ 500 จุดไปรวมกับราคาของออเดอร์ที่เราถือครองอยู่ก็จะได้ เป็น 115.110 + 500 จุด = 115.610 ซึ่งให้ใส่ตั่วเลขนี้ลงไปที่ช่อง Take Profit ก็จะได้ภาพดังต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : เมื่อเรานำตัวเลข 115.610 ลงไปกรอกในช่อง Take Profit เรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะปรากฏแถบสีน้ำเงินขึ้นมาเพื่อยืนยันการตั้งค่า TP ให้เราทำการคลิกยืนยันการตั้งค่า TP ที่ราคา 115.610 ที่แถบดังกล่าวเป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่าการใช้งานเส้น TP
หมายเหตุ : ถ้าหากกรณีที่เราเปิดออเดอร์ SELL นั้นวิธีการตั้งค่า TP ก็จะคล้ายๆ กับการเปิดออเดอร์ BUY แต่แตกต่างกันที่การกำหนดเป้าหมาย TP นั้น ต้องนำระยะทางการเคลื่อนที่ของราคาหรือ Point ไปลบกับราคาที่เราถืออเดอร์อยู่ เพราะว่าการเข้าออเดอร์ SELL ต้องลุ้นให้ราคา Price ของคู่เงินดังกล่าวร่วงลง ยกตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าเราถือคู่เงิน USDJPY ด้วยออเดอร์ SELL ได้ราคาที่ 115.031 หากเราต้องการกำไร 500 จุด ให้นำระยะทางไปลบออกจากราคาที่ได้ จึงจะมีสมการว่า 115.031 – 500 Point = 114.531
ซึ่งนำตัวเลข 114.531 ไปกรอกลง Take Profit แล้วแถบยืนยันการตั้ง TP ก็จะปรากฏขึ้นมาเป็นสีแดง ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นการตั้งค่า TP ในออเดอร์ SELL นั่นเอง
วิธีที่ 2 การลากเส้นออเดอร์ขึ้นเพื่อกำหนดจุด TP
เป็นวิธีการตั้งค่า TP ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด โดยการลากเส้นของออเดอร์ไปตามทิศทางที่จะทำให้ออเดอร์ของเราเป็นไปในทิศทางบวก มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
เป็นวิธีการตั้งค่า TP ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด โดยการลากเส้นของออเดอร์ไปตามทิศทางที่จะทำให้ออเดอร์ของเราเป็นไปในทิศทางบวก มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าเราเข้าออเดอร์คู่ GBPUSD ด้าน SELL หากเราต้องการตั้ง TP โดยกำไรประมาณ 500 จุด ก็ให้เราทำการคลิกซ้ายค้างที่เส้นออเดอร์แล้วลากลงมา ก็จะปรากฏเส้น TP ของด้าน SELL ขึ้น โดยที่เส้น TP จะมีการแสดงผลของ ระยะทางของราคาคู่เงินและ กำไรที่เส้น TP ดังกล่าว
หมายเหตุ : ถ้าหากเราต้องการตั้งค่า TP ในออเดอร์ BUY ก็สามารถทำได้โดยการคลิกซ้ายค้างแล้วลากเส้นออเดอร์ขึ้นไปตามความต้องการของเรา
การใช้งานเส้น SL
การใช้งานฟังก์ชั่น SL นั้นจะมีการตั้งค่าคล้ายๆ กับ TP แต่จะตรงข้ามกันทุกอย่าง ซึ่งจะมี 2 วิธีเหมือนกันคือ
1. การตั้งค่าใช้งานเส้น SL จากเมนูของออเดอร์
2. การลากเส้นออเดอร์ขึ้นเพื่อกำหนดจุด SL
2. การลากเส้นออเดอร์ขึ้นเพื่อกำหนดจุด SL
วิธีที่ 1 การตั้งค่าการใช้งาน SL จากเมนูของออเดอร์
หลังจากเปิดออเดอร์แล้ว หากเราต้องการตั้งค่า SL ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ S/L ของออเดอร์ที่เราต้องการตั้งค่าดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ารายการในช่องของ S/L นั้นยังคงเป็นเลข 0.000 อยู่ ซึ่งก็คือเรายังไม่ได้ทำการตั้งค่าการใช้งาน TP นั่นเองให้เราคลิกที่ตัวเลข 0.000 เพื่อตั้งค่า S/L จะได้ภาพดังต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าเราถือครองออเดอร์ GBP/USD โดยการเปิด BUY อยู่ และได้ราคาที่ 1.25830 ให้เราทำการตั้งจุด SL ที่ช่อง Stop Loss ได้เลยสมมุติว่าเรายอมรับการขาดทุนได้ 500 จุด ก็ให้เรานำ 500 จุดไปคำนวณจุด SL จากราคาของออเดอร์ที่เราถือครองอยู่ก็จะได้ เป็น 1.25830 - 500 จุด = 1.25330 ซึ่งให้ใส่ตั่วเลขนี้ลงไปที่ช่อง Stop Loss ก็จะได้ภาพดังต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : เมื่อเรานำตัวเลข 1.25330 ลงไปกรอกในช่อง Stop Loss เรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะปรากฏแถบสีน้ำเงินขึ้นมาเพื่อยืนยันการตั้งค่า SL ให้เราทำการคลิกยืนยันการตั้งค่า SL ที่ราคา 1.25330 ที่แถบดังกล่าวเป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่าการใช้งานเส้น SL
หมายเหตุ : ถ้าหากกรณีที่เราเปิดออเดอร์ SELL นั้นวิธีการตั้งค่า SL ก็จะคล้ายๆ กับการเปิดออเดอร์ BUY แต่แตกต่างกันที่การกำหนดเป้าหมาย SL นั้น ต้องนำระยะทางการเคลื่อนที่ของราคาหรือ Point ไปบวกกับราคาที่เราถืออเดอร์อยู่ เพราะว่าการเข้าออเดอร์ SELL การตั้งจุด SL ต้องตั้งในด้านตรงข้ามกับทิศทางในการทำกำไร โดยมีภาพตัวอย่างต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าเราถือคู่เงิน GBP/USD ด้วยออเดอร์ SELL ได้ราคาที่ 1.25762 หากเรายอมรับจุดขาดทุนได้ที่ 500 จุด ให้นำระยะทางไปบวกราคาเพิ่ม เนื่องจากเป็น SL ของฝั่ง SELL จึงจะมีสมการว่า 1.25762 + 500 Point = 1.26262
ซึ่งนำตัวเลข 1.26262 ไปกรอกลง Take Profit แล้วแถบยืนยันการตั้ง SL ก็จะปรากฏขึ้นมาเป็นสีแดง ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นการตั้งค่า SL ในออเดอร์ SELL นั่นเอง
วิธีที่ 2 การลากเส้นออเดอร์ขึ้นเพื่อกำหนดจุด SL
เป็นวิธีการตั้งค่า SL ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด โดยการลากเส้นของออเดอร์ไปตามทิศทางที่จะทำให้ออเดอร์ของเราเป็นไปในทิศทางลบซึ่งจะเป็นการกำหนดจุดขาดทุนที่สามารถยอมรับได้ มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
เป็นวิธีการตั้งค่า SL ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด โดยการลากเส้นของออเดอร์ไปตามทิศทางที่จะทำให้ออเดอร์ของเราเป็นไปในทิศทางลบซึ่งจะเป็นการกำหนดจุดขาดทุนที่สามารถยอมรับได้ มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าเราเข้าออเดอร์คู่ EUR/USD ด้าน SELL หากเราต้องการตั้ง SL โดยกำไรประมาณ 904 จุด ก็ให้เราทำการคลิกซ้ายค้างที่เส้นออเดอร์แล้วลากขึ้นไป ก็จะปรากฏเส้น SL ของด้าน SELL ขึ้น โดยที่เส้น SL จะมีการแสดงผลของ ระยะทางของราคาคู่เงินและ ขาดทุนที่เส้น SL ดังกล่าว
หมายเหตุ : ถ้าหากเราต้องการตั้งค่า SL ในออเดอร์ BUY ก็สามารถทำได้โดยการคลิกซ้ายค้างแล้วลากเส้นออเดอร์ลงตามความต้องการของเรา
สรุป : ทิศทางในการตั้ง TP และ SL จะได้ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : มีอีก 1 คำที่มักได้ยินกันมากคือ Break Event โดยคำๆ นี้นั้นหมายความว่าจุดเท่าทุนของออเดอร์ที่มีอยู่ ถ้าหากเราถืออเดอร์เพียง 1 รายการ ก็จะสามารถตอบได้ทันทีว่า ราคาที่เราซื้อนั่นแหละเป็นจุด Break Event แต่ถ้าหากเราเข้าออเดอร์หลายๆ รายการในคู่เงินเดียวกัน และจำนวน Lot Size ที่ไม่เท่ากันล่ะ ?? จุด Break Event จะอยู่ตรงที่ไหน
ซึ่งถ้าหากจะหาจุด Break Event ในเคสตัวอย่างแบบนี้นั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อนมาก ความรู้ในเนตมักจะเป็นการหา Break Event จากหลักคณิตศาสตร์ ซึ่งหากมาเปรียบเทียบในการใช้งานกับโปรแกรม MT4 นั้นต้องใช้เวลาในการคำนวณค่อนข้างนาน จึงได้มีผู้เริ่มเขียนฟังก์ชั่น Break Event นี้ขึ้นมา ซึ่งประโยชน์ของฟังก์ชั่น Break Event นี้ จะถูกพูดถึงในเรื่องของระบบเทรดต่อไป