Terminal..


Terminal

    ในส่วนกลุ่มของ Terminal นั้นจะเป็นฟังก์ชั่นการแสดงผลภาพรวมของสถานะพอร์ต รวมไปถึงระบบค้นหาตัวช่วยในเรื่องของการทำกำไรของผู้ใช้งานโปรแกรม MT4  ซึ่งเจ้าหน้าต่าง Terminal จะมีลักษณะดังภาพต่อไปนี้

หน้าต่าง Terminal จะถูกแบ่งแยกย่อยออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
    Trade
    Exposure
    Account History 
    News
    Alert
    Mailbox
    Market
    Signals
    Code Base
    Expert
    Journal

1. Trade 
    หน้าต่าง Trade เป็นฟังก์ชั่นการแสดงผลพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในหมวดหมู่ของ Terminal ซึ่งจะเป็นการแสดงผลภาพรวมของสถานะพอร์ตปัจจุบัน โดยยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

    จากภาพจะอธิบายส่วนสำคัญๆ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนได้ดังนี้ 
ส่วนที่ 1 การแสดงผลของสถานะออเดอร์
-    Order คือ หมายเลขที่เปิดออเดอร์
-    Time คือ เวลาที่ทำการเปิดออเดอร์ (นับตามเวลาของ Market Watch)
-    Type คือ ชนิดของการเปิดออเดอร์ มี 2 ลักษณะ Buy และ Sell 
-    Size คือ จำนวน Volume (Lot)
-    Symbol คือ คู่สกุลเงิน
-    Price คือ ราคาที่ทำการเปิดออเดอร์
-    S / L คือ ตำแหน่งของการตั้งจุดขาดทุน (Stop Loss)
-    T / P คือ ตำแหน่งของการตั้งจุดกำไร (Take Profit)
-    Price คือ ความเคลื่อนไหวของราคา ณ ปัจจุบัน 
-    Commission คือ ค่าคอมมิชชั่นบางบัญชีที่เลือก (ตัวอย่างบัญชี ECN ของโบรกเกอร์ Exness)
-    Swap คือ ดอกเบี้ยสำหรับถือออเดอร์ข้ามคืน (สำหรับออเดอร์ Sell)
-    Profit คือ สถานะภาพรวมของออเดอร์ แสดงผลเป็น กำไร / ขาดทุน
ส่วนที่ 2 รูปแบบออเดอร์ที่ทำการเข้าเทรด
    รูปแบบของส่วนที่ 2 นั้นจะแสดงผลออกมาตามรูปแบบของส่วนที่ 1 ที่กล่าวมาจากข้างต้น แต่เพียงจะมีการใช้งานเพิ่มเติมหากทำการดับเบิ้ลคลิกหรือคลิกขวาตรงตำแหน่งใดๆ ก็ได้ของออเดอร์ที่มีอยู่ จะได้ลักษณะดังต่อไปนี้


    การดับเบิ้ลคลิก
    จะคล้ายๆ กับการกดปุ่ม F9 เพื่อทำการเปิดออเดอร์หรือแก้ไขออเดอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถสั่งการออเดอร์นั้นๆ ได้ดังนี้ (จะอธิบายอย่าละเอียดที่ Chart Window)

จากภาพเราสามารถแก้ไขออเดอร์ปัจจุบันได้ดังนี้
    1.1 สามารถเปิดออเดอร์เพิ่มได้ 
    1.2 คัตลอสทิ้งได้ โดยสามารถคัตออเดอร์นั้นๆ ทิ้งได้เลย หรือคัตย่อยก็ได้โดยในรูปเราถืออเดอร์อยู่ 1 Lot เราสามารถคัตออเดอร์ทิ้งครึ่งนึงก็ได้โดยทำการเปลี่ยน Lot เป็น 0.5 แล้วกด Close Order ออเดอร์ที่เราถืออยู่จะเหลือแค่ Lot 0.5 เท่านั้น
    1.3 สามารถตั้งค่า Take Profit (จุดกำไร) และ Stop loss (จุดขาดทุน) ได้ตามความต้องการ
    1.4 Type สามารถกำหนดการซื้อขายล่วงหน้าได้

    การคลิกขวา

    จากภาพอธิบายส่วนสำคัญๆ ได้ดังต่อไปนี้ 
-    New Order คือ การเปิดออเดอร์เพิ่มเติม ตามหน้าต่างคือเงินที่เราเปิดอยู่ (F9)
-    Close Order คือ การปิดออเดอร์
-    Modify or Delete Order คือ การตั้งค่าตำแหน่ง T / P หรือ S / L  หรือแม้แต่การตั้งค่าการเข้าออเดอร์ล่วงหน้า และ การเปิดออเดอร์เพิ่มเติม 
-    Trailing Stop หรือ เป็นการตั้งตำแหน่ง Stop Loss แบบเคลื่อนที่หากออเดอร์นั้นมีกำไรถึงตำแหน่งที่เราตั้งไว้ Trailing Stop จะทำงานอัตโนมัติ และทำการตั้ง Stop Loss ไว้ เพื่อป้องกันการขาดทุน
-    Profit เป็นการตั้งค่าการใช้งานแสดงผลกำไร ว่าจะให้โชว์เป็น Pip หรือ แสดงผลกำไรขาดทุนเป็นจำนวนเงิน
หมายเหตุ : จากภาพในช่องสี่เหลี่ยมสีแดงเป็นเครื่องหมายกากบาทคือ ปุ่มลัดในการ Close Order 

ส่วนที่ 3 การแสดงผลของสถานะพอร์ต
-    Balance คือ ยอดเงินที่ยังไม่รวมกำไรหรือขาดทุนของออเดอร์ (เงินทุนที่มีอยู่)
-    Equity คือ ยอดเงินที่รวมกำไรหรือขาดทุนของออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่ (Balance + Profit = Equity)
-    Margin คือ เงินที่เราลงทุนเข้าไปตามผลรวมของออเดอร์
-    Free Margin คือ จำนวนเงินที่เหลือใช้ในการเปิดออเดอร์เพิ่มเติมได้ 
-    Margin Level คือ การแสดงผลของสถานะพอร์ตยิ่งเยอะยิ่งดี หากตต่ำกว่า 100 จะไม่สามารถเปิดออเดอร์เพิ่มเติมได้ และหากต่ำกว่า 60 %  – 30 %  ออเดอร์จะถูกปิดให้อัตโนมัติ (ตามชนิดประเภทบัญชีที่ใช้งานด้วย)

2. ฟังก์ชั่น Exposure 
    เป็นหน้าต่างที่บอกภาพรวมของการใช้งานในแต่ละออเดอร์ที่เราเข้าเทรด ว่ามีสกุลเงินอะไรบ้าง ใช้เงินลงทุนกับออเดอร์นั้นๆ ไปเท่าไร และ เรตของการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเท่าไร จะแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขและกราฟวงกลมโดยมีลักษณะดังนี้

3. Account History
    เป็นหน้าต่างที่ใช้ดูออเดอร์ย้อนหลังของพอร์ตๆ นั้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีกหน้าต่างหนึ่ง ใช้ในการเก็บประวัติผลงานการเทรด หรือสามารถเช็คการเติบโตของพอร์ตได้ โดยการแสดงผลของออเดอร์นั้นจะคล้ายๆ กันกับหน้าต่าง Trade ซึ่งต่างกันคือเป็นประวัติของออเดอร์ย้อนหลัง ตามลักษณะของภาพดังต่อไปนี้

จากภาพจะเห็นว่า เป็นรายการของออเดอร์ย้อนหลังที่ทำการปิดออเดอร์ผ่านมาแล้ว แต่จะมีส่วนแสดงผลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
-    Profit/Loss คือ ยอดรวมของผลกำไรหรือขาดทุนของพอร์ต
-    Credit คือ เงินโบนัสหรือเงินรางวัลที่ได้รับจากโบรกเกอร์
-    Deposit คือ ยอดรวมของเงินที่ใช้ในการฝากเข้าเทรด
-    Withdrawal คือ ยอดเงินที่ถูกถอนออก

หมายเหตุ : ตัวเลขด้านขวาล่างสุดคือยอดเงิน Balance ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
หากทำการคลิกขวาที่ออเดอร์ใน Account History นั้นจะมีฟังก์ชั่นต่างๆ ที่สำคัญๆ ดังภาพต่อไป

 
อธิบายส่วนประกอบที่สำคัญจากภาพได้ดังต่อไปนี้ 
-    All History คือการเลือกเปิดดูประวัติการเทรดย้อนหลังทั้งหมด
-    Last 3 Months คือการเลือกเปิดดูประวัติการเทรดย้อนหลัง 3 เดือน
-    Last Month คือการเลือกเปิดดูประวัติการเทรดย้อนหลัง 1 เดือน
-    Custom Period เป็นฟังก์ชั่นการเรียกดูประวัติย้อนหลังตามกำหนดได้ 
-    Save as Report คือการทำประวัติการเทรดและข้อมูลเกี่ยวกับการเทรดย้อนหลังเป็นไฟล์เก็บไว้ได้หรือที่เรียกกันว่า Statement หรือรายการย้อนหลังนั่นเองดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้ 

-    Save as Detailed Report คือการทำประวัติการเทรดและข้อมูลของการเทรดย้อนหลังทั้งหมด (statement) พร้อมทั้งยังมีบทสรุปของพอร์ตลงทุนและมีภาพประกอบให้อีกด้วยดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้

4. News
    หน้าต่างนี้จะเป็นการประกาศของข่าวที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน โดยส่วนใหญ่การประกาศหรือสรุปผลจากข่าวนั้นทาง Meta Quotes ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโปรแกรม MT4 จะเป็นผู้สรุปข่าว และทำการอัพลงในโปรแกรม MT4 ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรม MT4 ทั่วโลกจะเห็นข่าวเหมือนกันโดยเนื้อหาของข่าวจะสรุปเป็นภาษาอังกฤษ เพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ใช้งานโปรแกรม โดยฟังก์ชั่นนี้จะถูกอัพเดทตลอดเวลา

5. Alerts 
    หน้าต่าง Alerts ถูกใช้งานเป็นสัญญาณเตือนหากกราฟได้เข้าเงื่อนไขที่เราตั้งค่าไว้ กราฟก็จะส่งสัญญาณเตือนออกมา โดยการใช้งานฟังก์ชั่น Alerts ทำได้โดยการคลิกขวาตรงพื้นที่หน้าต่างของ Alert จะได้ภาพดังต่อไปนี้

ทำการคลิก Create แล้วทำการตั้งค่า Alert ดังภาพต่อไปนี้

จากภาพอธิบายได้ดังนี้ 
Action – คือรูปแบบการแจ้งเตือน โดยจะมีการตั้งค่า Sound คือการส่งสัญญาณเตือน File เป็นการแจ้งเตือนในรูปแบบของไฟล์ และ E-mail เป็นการแจ้งเตือนเข้าไปใน Mail Box 
Symbol – คือการเลือกคู่เงินที่จะใช้ตั้งค่า
Source – คือ รูปแบบของเสียงการแจ้งเตือน 
Timeout – คือ การกำหนดให้มีการแจ้งเตือนทุกๆ รอบการตั้งค่า 
Expiration – คือ การกำหนดเวลาที่จะแจ้งเตือนตั้งแต่การตั้งค่านี้เป็นต้นไป (หากตั้งเป็นเวลาของอนาคตจะไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ แม้จะตรงตามเงือนไขก็ตาม)
Condition – คือ เลือกกำหนด การตั้งค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าของค่าเงินปัจจุบัน 
Value – คือ การตั้งค่าราคาที่กำหนด 
Maximum iteration – คือ จำนวนการแจ้งเตือนสูงสุด

ตัวอย่างการตั้งค่าการใช้งานฟังก์ชั่น Alerts

จากภาพอธิบายได้ดังนี้
-    เลือกการแจ้งเตือนเป็นไฟล์เสียง
-    เลือกคู่เงิน EURUSD
-    เลือกเสียงแจ้งเตือนเป็น alert
-    จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนๆ ทุกๆ 10 วินาทีหากเข้าเงื่อนไข
-    Expiration ไม่กำหนดเวลา 
-    เลือกหากเส้น Bid เป็นตัวกำหนดสัญญาณ  โดยตั้งค่าราคาไว้ที่ 1.07585 นั่นคือหาก เส้น Bid มากกว่าราคาที่ตั้งค่าไว้ สัญญาณ Alert จะดังขึ้น
-    ตั้งการแจ้งเตือนสูงสุด 1000 ครั้ง 

จากภาพ เส้น Bid ที่ราคา 1.07472 เป็นราคาของคู่เงิน EURUSD ในปัจจุบัน ซึ่งเราได้ตั้งค่าไว้ว่า เมื่อเส้น Bid มีค่ามากกว่าราคา 1.07585 จึงจะทำให้สัญญาณ Alert ทำงานนั่นหมายถึง กราฟต้องวิ่งขึ้นไปตามลูกศรสีแดง แล้วอยู่เหนือราคา 1.07585 เป็นต้นไปจะทำให้สัญญาณเตือนดังขึ้นตลอด แต่ถ้าหากขึ้นผ่านเส้นรารา 1.07585 แล้ววิ่งกลับลงมาต่ำกว่าราคา 1.07585 สัญญาณ Alert จะแจ้งเตือนแค่ครั้งเมื่อผ่านเท่านั้น และจะไม่ดังขึ้นอีกหากกราฟได้วิ่งลงต่ำกว่า 1.07585 เป็นต้นไป 
 
6. Mailbox 
    หน้าต่าง Mailbox เป็นกล่องข้อความไว้เพื่อรับข่าวสารจากด้านนอก โดยจะส่งผ่านตรงเข้ามายังกล่องข้อความของอีเมลล์ที่เราได้ทำการลงทะเบียนไว้

7. Market 
    หน้าต่าง Market เป็นตลาดขายสินค้าของกลุ่มนักเทรด โดยจะประกอบไปด้วย Indicators ชนิดพิเศษ หรือ Expert Advisors (EA) ต่างๆ มากมาย เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการทำกำไรในตลาดฟอเร็กซ์

8. Signals 
    หน้าต่าง Signals เป็นหน้าต่างที่มีไว้สำหรับติดตามนักเทรดที่มีความสามารถทางการทำกำไรในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งจะมีแบบติดตามฟรี หรือติดตามแบบเสียค่าใช้จ่ายแบบรายเดือนตามเงื่อนไขนักเทรดที่ทำการเปิด Signal

9. Code Base 
    หน้าต่าง Code Base เป็นหน้าต่างที่ใช้ในการค้าหา Indicators หรือ EA ใหม่ๆ ที่ทำการแจกฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เราสามารถใช้งานได้โดยการลากลงบนหน้าต่าง MT4 เลยก็ได้หรือ ทำการดับเบิ้ลคลิกเพื่อเข้าไปศึกษารายละเอียดต่างๆ Indicators หรือ EA ที่แจกฟรี ได้ โดยหากการดับเบิ้ลคลิกแล้วจะถูกดึงเข้าหน้าต่างเว็บไซต์ของ www.mql4.com ทันที 

10. Experts
    หน้าต่าง Experts เป็นหน้าต่างที่มีไว้แสดงรายละเอียดของออเดอร์โดยการใช้งานของ EA จะแสดงผลเป็นเรื่องของการทำงานของ EA ในออเดอร์นั้นๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร จะถูกแสดงขึ้นมาทั้งหมด

11. Journal 
    หน้าต่าง Journal เป็นหน้าต่างที่แสดงข้อมูล log ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโปรแกรม MT4 ไม่ว่าจะเป็น การเปิด-ปิด ออเดอร์ การเข้าสู่ระบบจากบัญชีเทรด เวลาใช้งาน และอื่นๆ