แนวรับ – แนวต้าน


คำว่า แนวรับ แนวต้าน เป็นคำที่ได้ยินกันอย่างคุ้นหูในแวดวงตลาดฟอเร็กซ์ หุ้นหรือการลงทุนต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเทรด โดยความสำคัญของแนวรับ แนวต้านนั้นช่วยใช้ในการตัดสินใจเข้าออเดอร์ที่จุดได้เปรียบ หรือแม้กระทั่งการปิดออเดอร์เพื่อทำกำไรในจุดที่เหมาะสมที่สุดก็ได้ 

     แนวรับ (Support)  คือ จุดที่กราฟกลับตัวขึ้นที่จุดต่ำสุดเดิม หรือเป็นจุดที่เกิดการซื้อมากกว่าปกติที่ราคาต่ำที่สุด ซึ่งจุดแนวรับนั้นในเชิงการเคราะห์จะให้ความสำคัญในเรื่องการพักตัวของกราฟในเทรนขาลงและรอสัญญาณว่าจะเกิดแรงขายที่มากกว่าปกติ มักจะส่งผลให้กราฟนั้นทะลุแนวรับ หรือที่เรียกว่า (Break Out Down) โดยที่เราจะมองกราฟเป็นเทรนลงต่อไป แต่ถ้าหากกราฟไม่สามารถผ่านแนวรับไปได้ ซึ่งจุดดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดแรงซื้อที่มากกว่าปกติอยู่แล้ว การวิเคราะห์ที่ได้นั้นจะส่งผลให้กราฟกลับตัวเป็นขาขึ้น เพราะว่าจุดที่เป็นแนวรับดังกล่าวนั้นจะเป็นเป็นจุดที่ได้เปรียบในการเข้าซื้อหรือถือ Buy นั่นเอง
     แนวต้าน (Resistance)  คือ จุดที่กราฟกลับตัวลงที่จุดสูงสุดเดิม หรือเป็นจุดที่เกิดการขายมากกว่าปกติที่ราคาสูงที่สุด ซึ่งจุดแนวต้านนั้นในเชิงการเคราะห์จะให้ความสำคัญในเรื่องการพักตัวของกราฟในเทรนขาขึ้นและรอสัญญาณว่าจะเกิดแรงซื้อที่มากกว่าปกติ มักจะส่งผลให้กราฟนั้นทะลุแนวต้าน หรือที่เรียกว่า (Break Out Up) โดยที่เราจะมองกราฟเป็นเทรนขึ้นต่อไป แต่ถ้าหากกราฟไม่สามารถผ่านแนวต้านไปได้ ซึ่งจุดดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดแรงขายที่มากกว่าปกติอยู่แล้ว การวิเคราะห์ที่ได้นั้นจะส่งผลให้กราฟกลับตัวเป็นขาลง เพราะว่าจุดที่เป็นแนวต้านดังกล่าวนั้นจะเป็นจุดที่ได้เปรียบในการเข้า Sell นั่นเอง

วิธีการหาจุดที่เป็นแนวรับ – แนวต้าน 
โดยส่วนใหญ่วิธีที่นิยมใช้หาจุดที่เป็นแนวรับ – แนวต้านนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีคือ
1. การหาแนวรับ – แนวต้านจากข้อมูลกราฟในอดีต
2. การหาแนวรับ – แนวต้านจากการตีเส้นเทรนไลน์
3. การหาแนวรับ – แนวต้านโดยใช้ Fibonacci

การหาแนวรับ – แนวต้านจากข้อมูลกราฟในอดีต
     โดยเทคนิคนี้เป็นเทคนิคพื้นฐานในการมองหาจุดที่เป็นแนวรับ – แนวต้านอย่างง่ายๆ ซึ่งจะใช้จุดต่ำสุดเดิมและจุดสูงสุดเดิมจากข้อมูลที่เป็นกราฟในอดีตทั้งหมด ทำได้โดยการสังเกตด้วยตาเปล่าหรือลากเส้นเพื่อพิสูจน์ว่าจุดๆ นั้นเป็นแนวรับแนวต้านหรือไม่ หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด 

การสังเกตจุดที่เป็นแนวรับแนวต้านมีวิธีการดังนี้ 
1. การมองหาจุดที่เป็นแนวรับ ทำได้โดยการหาจุดที่เป็นจุดต่ำสุดของกราฟในอดีต และทำการคาดคะเนว่ากราฟในจุดดังกล่าวจะเกิดแรงซื้อ (Buy) ในจุดนั้นมากเป็นพิเศษ มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้


อธิบายจากภาพ : ในจุดที่เป็นลูกศรหมายเลข 1 นั้นกราฟได้ลงมาที่จุดต่ำสุดบริเวณเส้นราคา 1.29180 และเกิดแรงซื้อหรือกระแสเข้า Buy มากกว่าปกติส่งผลให้กราฟกลับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจึงกำหนดจุดที่ลูกศรหมายเลข 1 เป็นแนวรับดังกล่าว และเมื่อกราฟได้วิ่งเป็นเทรนลงต่อ มาทดสอบแนวรับที่จุดต่ำสุดที่เป็นแนวรับอีกครั้งบริเวณเส้นราคา 1.29180 ตามลูกศรหมายเลข 2 นั้น กราฟที่ได้ก็เกิดกระแรงซื้อหรือกระแสเข้า Buy อีกครั้งที่จุดบริเวณนี้ เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “กราฟไม่ผ่านแนวรับเดิม” 
    
2. การมองหาจุดที่เป็นแนวต้าน ทำได้โดยการหาจุดที่เป็นจุดสูงสุดของกราฟในอดีต และทำการคาดคะเนว่ากราฟในจุดดังกล่าวจะเกิดแรงขาย (Sell) ในจุดนั้นมากเป็นพิเศษ มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : ในจุดที่เป็นลูกศรหมายเลข 1 นั้นกราฟได้ขึ้นมาที่จุดสูงสุดบริเวณเส้นราคา 1.25010 และเกิดแรงขายหรือกระแสเข้า Sell มากกว่าปกติส่งผลให้กราฟกลับตัวลงอย่างรวดเร็ว เราจึงกำหนดจุดที่ลูกศรหมายเลข 1 เป็นแนวต้านดังกล่าว และเมื่อกราฟได้วิ่งเป็นเทรนขึ้นต่อ มาทดสอบแนวต้านที่จุดสูงสุดที่เป็นแนวต้านอีกครั้งบริเวณเส้นราคา 1.25010 ตามลูกศรหมายเลข 2 นั้น กราฟที่ได้ก็เกิดกระแรงขายหรือกระแสเข้า Sell อีกครั้งที่จุดบริเวณนี้ เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “กราฟไม่ผ่านแนวต้านเดิม” 
หมายเหตุ : ในการหาแนวรับ – แนวต้านจากข้อมูลกราฟในอดีตนั้นเหมาะสำหรับกราฟที่มี Time Flame ในหน่วยใหญ่ๆ ตั้งแต่ M15 (1 แท่งเทียน/15นาที) – MN (1 แท่งเทียน/1 เดือน) และหากมองจุดที่เป็นบริเวณแนวรับแนวต้านไม่ชัดเจนสามารถใช้เส้น Draw horizontal line หรือเส้นตรงเพื่อสร้างสัญลักษณ์แสดงถึงบริเวณแนวรับ – แนวต้านบนหน้าต่าง MT4 ได้ เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ดังกล่าว

การหาแนวรับ – แนวต้านจากการตีเส้นเทรนไลน์
     เทคนิคการมองหาจุดที่เป็นแนวรับ – แนวต้านจากเส้นเทรนไลน์นั้นทำได้โดยการลากเส้นแนวโน้มของกราฟจากจุดที่เป็นจุดต่ำสุดหนึ่งไปยังจุดต่ำสุดหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะนี้เราเรียกว่า “แนวรับเทรนไลน์” ส่วนการลากจุดสูงสุดหนึ่งไปยังจุดสูงสุดหนึ่งแบบต่อเนื่องกัน ในลักษณะนี้เราเรียกว่า “แนวต้านเทรนไลน์” โดยทั้งสองแบบนั้นใช้ได้กับกราฟในอดีตที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการหาจุดเข้าทำกำไรที่ดีที่สุดและการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของกราฟได้เป็นอย่างดี
      แนวรับเทรนไลน์ คือ จุดต่ำสุดของกราฟมากกว่า 1 จุดที่มีความสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดแนวโน้มในทิศทางกลับตัวขึ้นที่จุดดังกล่าว โดยที่แนวรับเทรนไลน์ที่เป็นแนวโน้มของกราฟนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ 1. แนวรับเทรนไลน์ในเทรนขึ้น 2. แนวรับเทรนไลน์ในเทรนลง อธิบายได้ดังนี้ 
1. แนวรับเทรนไลน์ในเทรนขึ้น เป็นการวิเคราะห์หาจุดที่เป็นแนวรับในเทรนขาขึ้นหรือหาจุดที่ได้เปรียบในการเข้าซื้อ หรือเข้า Buy ในจุดที่ได้เปรียบมากที่สุดในการเข้าเทรดโดยมีตัวอย่างจากภาพดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : แนวรับเทรนไลน์ในเทรนขึ้น ในลูกศรหมายเลข 1 นั้นเป็นการกลับตัวขึ้นเนื่องจากเกิดแรงซื้อมากเป็นพิเศษที่จุดดังกล่าวส่งผลให้กราฟนั้นกลับตัวขึ้นไปจึงกำหนดให้จุดดังกล่าวเป็นจุดที่เป็นแนวรับแรก ต่อมากราฟได้พักตัวลงมาอย่างมากและดีดกลับขึ้นขึ้นไปอีกรอบ ในจุดที่เป็นลูกศรหมายเลข 2 และเกิดการสวิงกลับขึ้นไปอีกรอบ โดยที่กราฟนั้นไม่ได้ลงมาที่ราคาแนวรับเดิมที่ลูกศรหมายเลข 1 จึงสันนิษฐานได้ว่า กราฟเกิดแนวโน้มในทิศทางขาขึ้น ให้เราทำการตีเส้นแนวรับเทรนไลน์เชื่ออมจุดกันระหว่างลูกศรหมายเลข 1 กับลูกศรหมายเลข 2 เส้นแนวรับเทรนไลน์ก็จะเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ของกราฟ
    เมื่อกราฟได้ย่อกลับลงมาทดสอบเส้นเทรนไลน์ที่ลูกศรหมายเลข 3 กราฟก็ได้ดีดกลับขึ้นไปอีกครั้ง แสดงว่ากราฟนั้นไม่ผ่านแนวรับที่เส้นเทรนไลน์ที่จุดลูกศรหมายเลข 3 และตำแหน่งนี้จึงเป็นจุดเข้าซื้อ หรือจุดเข้า Buy ที่ได้เปรียบที่สุดนั่นเอง 

2. แนวรับเทรนไลน์ในเทรนลง เป็นการวิเคราะห์หาจุดที่เป็นแนวรับในเทรนขาลง หรือหาจุดที่ได้เปรียบในการคัตออเดอร์ Sell เพื่อหาจุดทำกำไรที่ราคาดีที่สุด (ไม่เหมาะในการเข้าซื้อหรือเข้า Buy เนื่องจากไม่ตามเทรน) โดยมีภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : แนวรับเทรนไลน์ในเทรนลง ในลูกศรหมายเลข 1 นั้นกราฟมีแรงดีดขึ้นกลับตัวอย่างรวดเร็ว และต่อมากราฟได้วิ่งลงมาทำจุดต่ำสุดที่มากกว่าหมายเลข 1 ที่โซนหมายเลข 2 ให้ทำการลากเส้นเทรนไลน์ไว้เป็นแนวรับดังกล่าว และสันนิษฐานได้ว่ากราฟนั้นมีแนวโน้มที่เป็นเทรนลงต่อเนื่อง จนเมื่อกราฟได้วิ่งมาที่จุดหมายเลข 3 เป็นจุดที่มีการพักตัวของกราฟอีกครั้ง ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับการปิดกำไรขา Sell ที่ราคาดีที่สุด ไม่เหมาะที่จะเข้าซื้อหรือเข้า Buy ทันที เนื่องจากกราฟยังคงเป็นเทรนลงอยู่ นอกจากจะมีสัญญาณของ Bullish Divergence เข้ามาเกี่ยวข้องจะส่งผลให้กราฟดีดตัวขึ้นอย่างมากและ หักล้างแนวรับเทรนไลน์ขาลงเปลี่ยนเป็นเทรนขึ้นแทน 

      แนวต้านเทรนไลน์ คือ จุดสูงสุดของกราฟมากกว่า 1 จุดที่มีความสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดแนวโน้มในทิศทางกลับตัวลงที่จุดดังกล่าว โดยที่แนวต้านเทรนไลน์ที่เป็นแนวโน้มของกราฟนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ 1. แนวต้านเทรนไลน์ในเทรนขึ้น 2. แนวต้านเทรนไลน์ในเทรนลง อธิบายได้ดังนี้
     1. แนวต้านเทรนไลน์ในเทรนขึ้น เป็นการวิเคราะห์หาจุดที่เป็นแนวต้านในเทรนขาขึ้น หรือหาจุดที่ได้เปรียบในการคัตออเดอร์ Buy เพื่อหาจุดทำกำไรที่ราคาดีที่สุด (ไม่เหมาะในการเข้าซื้อ Sell ในทันที เนื่องจากไม่ตามเทรน) โดยมีภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : ในจุดลูกศรที่หมายเลข 1 นั้นกราฟได้พักตัวลงมา และดีดขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่หมายเลข 2 ให้เราทำการลากเส้นเทรนไลน์เพื่อวิเคราะห์หาแนวต้านในจุดต่อๆไป ซึ่งกราฟนั้นก็ยังมีแนวโน้มเป็นเทรนขาขึ้นอยู่ หากเราถืออเดอร์ Buy ไว้ เส้นเทรนไลน์นี้จะเป็นจุดที่ได้ราคาดีที่สุดในการคัตออเดอร์เพื่อทำกำไร แต่จังหวะของการ Sell ที่บริเวณเส้นแนวต้านเทรนไลน์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณของ Bearish Divergence เกิดขึ้น จะทำให้กราฟเกิดแรงขายที่บริเวณจุดแนวต้านหมายเลข 4 ออกมามากเป็นพิเศษ 
     2. แนวต้านเทรนไลน์ในเทรนลง เป็นการวิเคราะห์หาจุดที่เป็นแนวรับในเทรนขาลงหรือหาจุดที่ได้เปรียบในการเข้าออเดอร์ Sell ในจุดที่ได้เปรียบมากที่สุดในการเข้าเทรดโดยมีตัวอย่างจากภาพดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : ที่โซนหมายเลข 1 นั้นกราฟได้กลับตัวเป็นเทรนลง และเด้งกลับขึ้นไปยังวงกลมหมายเลข 2 ทำให้กราฟสร้างจุดสูงสุดที่ต่ำกว่าเดิม เมื่อทำการลากเส้นเทรนไลน์เพื่อสร้างแนวต้านนั้น จะเห็นว่ากราฟได้ลงต่อไปในจากโซนหมายเลข 2 และต่อมากราฟได้พักตัวขึ้นมาทดสอบแนวต้านที่โซนหมายเลข 3 ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่ากราฟมีแนวโน้มเป็นเทรนลงต่อ หรือที่เรียกกันว่า “ไม่ผ่านแนวต้านเทรนไลน์” จุดที่เป็นหมายเลข 3 จึงเป็นตำแหน่งที่ได้เปรียบในการเข้า Sell มากที่สุดนั่นเอง

ลักษณะของการ Break Out แนวรับ – แนวต้าน 
     การ Break Out นั้นเป็นสัญญาณของปริมาณการซื้อ – ขายที่มากเป็นพิเศษ จะส่งผลให้กราฟนั้นสามารถทะลุแนวรับ หรือ ทะลุแนวต้านออกไปได้ ส่วนใหญ่แล้วการ Break Out นั้นมักจะเกิดขึ้นกับกราฟที่มีแนวโน้มเป็นเทรนที่ชัดเจน และเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าว่า กราฟจะดีดตัวกลับบริเวณแนวรับหรือบริเวณแนวต้านหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตลาดในเวลานั้นๆ โดยลักษณะของการ Break Out นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ 
1. Break Out Down หรือกราฟทะลุแนวรับลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่
2. Break Out Up หรือ กราฟทะลุแนวต้านขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่

Break Out Down หรือ กราฟทะลุแนวรับลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่นั้นจะเกิดขึ้นบ่อยๆ กับกราฟที่มีเทรนลงเด่นชัดจึงจะส่งผลให้กราฟนั้นมีแนวโน้มที่จะทำ New Low หรือจุดต่ำสุดไปเรื่อยๆ จนกว่าสภาวะตลาดนั้นจะเกิดแรงซื้อ หรือกระแส Bullish Divergence ที่จะทำให้กราฟนั้นกลับตัวเป็นเทรนขึ้นต่อไป โดยลักษณะของการ Break Out Down นั้น มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้

    อธิบายจากภาพ : ในสัญลักษณ์หมายเลข 1 นั้นเป็นแนวรับแรกโดยที่กราฟได้ดีดตัวขึ้นและลงมาทดสอบแนวรับอีกรอบที่สัญลักษณ์หมายเลข 2 แล้วกราฟได้ดีดตัวขึ้นไปอย่างมาก จนเมื่อกราฟได้ลงมาทดสอบแนวรับอีกที่วงกลมสีฟ้า ปรากฏว่ากราฟในขั้นแรกก็ยังทดสอบไม่ผ่านที่เส้นแนวรับอีกครั้ง ซึ่งจะเห็นว่ากราฟนั้นมีการดีดตัวขึ้นในวงกลมสีฟ้าดังกล่าว (สังเกตได้จากกราฟแท่งเทียนเกิดใส้เทียนกลับตัวขึ้นอยู่บ้าง) แต่กระแสของแรงขายหรือที่เรียกว่าตลาด Bear นั้นมีปริมาณที่มากเป็นพิเศษ จึงส่งผลให้กราฟนั้นได้ทะลุแนวรับ และวิ่งเป็นเทรนลงต่ออย่างมาก ซึ่งก็คือการ Break Out Down หรือทะลุแนวรับนั่นเอง 
Break Out Up หรือ กราฟทะลุแนวต้านลงขึ้นไปจุดสูงสุดใหม่นั้นจะเกิดขึ้นบ่อยๆ กับกราฟที่มีเทรนขึ้นเด่นชัดจึงจะส่งผลให้กราฟนั้นมีแนวโน้มที่จะทำ New High หรือจุดสูงสุดไปเรื่อยๆ จนกว่าสภาวะตลาดนั้นจะเกิดแรงขาย หรือกระแส Bearish Divergence ที่จะทำให้กราฟนั้นกลับตัวเป็นเทรนลง โดยลักษณะของการ Break Out Up นั้น มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้

    อธิบายจากภาพ : ในสัญลักษณ์หมายเลข 1 นั้นเป็นแนวต้านแรกโดยที่กราฟได้ดีดตัวลงมาและขึ้นไปทดสอบแนวต้านอีกรอบที่หมายเลข 2 แล้วกราฟก็ได้ดีดตัวลงมาอีกครั้ง ซึ่งทั้งหมายเลข 1 และหมายเลข 2 นั้นสรุปได้ว่าไม่ผ่านแนวต้านดังกล่าว จนเมื่อกราฟได้ขึ้นไปทดสอบแนวต้านอีกครั้งที่วงกลมสีฟ้า ปรากฏว่ากราฟในขั้นแรกก็ยังทดสอบไม่ผ่านที่เส้นแนวต้านนี้อีกครั้ง ซึ่งจะเห็นว่ากราฟนั้นมีการดีดตัวลงมาอยู่บ้างในระยะแรกที่วงกลมสีฟ้าดังกล่าว แต่กระแสของแรงซื้อหรือที่เรียกว่าตลาด Bull นั้นมีปริมาณที่มากเป็นพิเศษ จึงส่งผลให้กราฟนั้นได้ทะลุแนวต้าน และวิ่งเป็นเทรนขึ้นต่ออย่างมาก ซึ่งก็คือการ Break Out Up หรือทะลุแนวต้านออกไปนั่นเอง 
หมายเหตุ : การหาแนวรับ – แนวต้านโดยการใช้เทคนิคการตีเส้นเทรนไลน์นั้นเป็นวิธีที่นักเทรดส่วนใหญ่นิยมใช้ในการวิเคราะห์มาก นอกจากจะได้จุดที่เป็นแนวรับ – แนวต้านตามการคาดการณ์จากตัวนักเทรดเองแล้วนั้น การตีเส้นเทรนไลน์อาจจะทำให้ตัวนักเทรดได้เห็นรูปแบบของกราฟหรือ Chart Pattern อีกด้วย ซึ่งเทคนิคการมองรูปแบบของกราฟจากเทรนไลน์นั้นจะอยู่ในเนื้อหาของ “รูปแบบของกราฟ” จะประกอบไปด้วยรูปแบบ Reversal (การกลับตัว) , Continuation (การต่อเนื่อง) และ Bilateral (ได้ทั้ง 2 แบบ) ซึ่งจะทำให้เราวิเคราะห์ทิศทางของกราฟได้อีกด้วย

การหาแนวรับ – แนวต้านโดยใช้ Fibonacci 
     เป็นเทคนิคที่ใช้การหาแนวรับ – แนวต้านโดยใช้อัตราส่วนทางตัวเลขของฟังก์ชั่น Fibonacci ในการมองหาแนวรับ – แนวต้านนั่นเอง ซึ่งวิธีการในการกาง Fibonacci เพื่อหาแนวรับ – แนวต้านนั้นจะใช้จุดต่ำสุดและจุดสูงสุด (New Low & New High) ที่ใกล้เคียงกับกราฟในปัจจุบันมากที่สุดเพื่อการวิเคราะห์ดังกล่าว โดยที่ฟังก์ชั่น Fibonacci จะมีเทคนิคการหาแนวรับ – แนวต้านอยู่ 2 แบบคือ 
1. การหาแนวรับของเทรนขาขึ้น
2. การหาแนวต้านของเทรนขาลง 

     การหาแนวรับของเทรนขาขึ้น ทำได้โดยการกาง Fibonacci จากจุดสูงสุดลงมาหาจุดต่ำสุดเดิม ซึ่งจุดที่อ้างอิงนั้นต้องเป็นข้อมูลกราฟในอดีตที่อยู่ใกล้เคียงราคาปัจจุบัน จะทำให้การมองหาแนวรับมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้

     อธิบายจากภาพ : การกาง Fibonacci เพื่อหาแนวรับในระยะต่างๆ นั้น ทำได้โดยการกาง Fibonacci จากจุด A มายังจุด B ซึ่งก็คือการกางจากจุดสูงสุดมายังจุดต่ำสุด ซึ่งจากภาพนั้นกราฟมีแนวโน้มเป็นเทรนขึ้น แนวรับที่ได้จึงได้แบ่งตามลำดับตั้งแต่ 61.8, 50, 38.2, 23.6 และ 0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราส่วนทางตัวเลขของแนวรับทั้งหมด ซึ่งเงื่อนไขที่เกิดการหักล้างมากที่สุดคือกราฟลงมามากกว่าเลข 0 หรือที่เรียกว่ากราฟทะลุแนวรับนั่นเอง

     การหาแนวต้านของเทรนขาลง ทำได้โดยการกาง Fibonacci จากจุดต่ำสุดขึ้นไปหาจุดสูงสุดเดิม ซึ่งจุดที่อ้างอิงนั้นต้องเป็นข้อมูลกราฟในอดีตที่อยู่ใกล้เคียงราคาปัจจุบัน จะทำให้การมองหาแนวต้านมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : การกาง Fibonacci เพื่อหาแนวต้านในระยะต่างๆ นั้น ทำได้โดยการกาง Fibonacci จากจุด A มายังจุด B ซึ่งก็คือการกางจากจุดต่ำสุดมายังจุดสูงสุด ซึ่งจากภาพนั้นกราฟมีแนวโน้มเป็นเทรนลง แนวต้านที่ได้จึงได้แบ่งตามลำดับตั้งแต่ 61.8, 50, 38.2, 23.6 และ 0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราส่วนทางตัวเลขของแนวต้านทั้งหมด ซึ่งเงื่อนไขที่เกิดการหักล้างมากที่สุดคือกราฟขึ้นไปมากกว่าเลข 0 หรือที่เรียกว่ากราฟทะลุแนวต้านนั่นเอง
หมายเหตุ :  ในส่วนของการใช้งาน Fibonacci อย่างละเอียดนั้นจะอยู่ในส่วนของเนื้อหาเรื่อง “Fibonacci” ซึ่งนอกจากจะใช้ในการหาแนวรับ – แนวต้านแล้วนั้น Fibonacci ยังใช้ในการหาเป้าหมายของจุดกำไรที่ดีที่สุด หรือ ลำดับขั้นของ TP 

สรุป : การหาจุดที่เป็นแนวรับ – แนวต้านนั้นมีความสำคัญมากในเรื่องของการวิเคราะห์กราฟเพื่อหาจุดเข้าทำกำไรที่ดีที่สุดและจุดคัตกำไรที่ดีที่สุดด้วย และยังเป็นเทคนิคที่นักเทรดทั่วโลกเลือกเป็นหนี่งในวิธีที่ดีที่สุดกับการสร้างระบบเทรดที่เป็นของตนเอง ในเรื่องของการใช้งานทั้ง 3 วิธีในการหาแนวรับ – แนวต้านนั้น นักเทรดต้องเลือกใช้วิธีที่ตัวเองถนัดที่สุดเพียง 1 วิธีเท่านั้นจึงจะเหมาะสม ไม่งั้นจะส่งผลให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนได้หากใช้ทั้ง 3 วิธีรวมกัน