Open /Close Order


Open Order  หรือ การเปิดออเดอร์นั้น เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการเข้าทำกำไรกับกราฟคู่เงินต่างๆ ตามการคาดการณ์ของเรา ซึ่งในการเปิดออเดอร์ในแต่ละครั้งจะมีส่วนสำคัญที่เราต้องพึงระวังทุกครั้งคือ การใช้ Lot Size หรือปริมาณการซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์ ในบางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดจากการใช้ Lot ที่ใหญ่จนเกินไป และทิศทางของกราฟ หรือการเปิดออเดอร์ฝั่ง BUY หรือ SELL ควรมีความชัดเจนในการเปิดออเดอร์ทุกครั้งไม่เช่นนั้น อาจจะส่งผลเสียต่อพอร์ตลงทุนของเรา เป็นข้อที่พึงควรระวัง 
การเปิดออเดอร์มีวิธีการใหญ่ๆ อยู่ 2 วิธีคือ 
1. สร้างคำสั่งซื้อในตลาด ซี่งดำเนินการได้ทันที
2. สร้างคำสั่งซื้อรอดำเนินการ จะถูกดำเนินการเมื่อราคามาถึงจุดที่คุณระบุไว้

การเปิดคำสั่งซื้อขายในทันที
การวางคำสั่งในตลาด จำเป็นต้องเปิดคำสั่งซื้อใหม่ โดยสามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้
-    เลือก New Order' จากเมนู 'Tools
-    กด F9
-    ดับเบิ้ลคลิกบน symbol ที่ต้องการเลือกใน หน้าต่าง Market Watch
-    เลือก New Order จากเมนูหน้าต่าง Market Watch
-    เลือก New Order จากเมนูของแท็บ 'Trade' ในหน้าต่าง Terminal
-    กด New order button icon  ปุ่มในแถบ Standard toolbar
-    Open order window in MT4
    ซึ่งที่ยกมาทั้งหมดนี้สามารถคลิกเพื่อใช้งานการเปิดออเดอร์ได้ทั้งหมด แต่คีย์ลัดสำหรับการเปิดออเดอร์นั้นคือปุ่ม F9 จะเป็นคีย์ลัดสำหรับเข้าสู้หน้า Menu Trade โดยตรง จะมีภาพตัวอย่างต่อไปนี้

หน้าต่าง 'Order' มีพารามิเตอร์ที่แสดงดังนี้

เมื่อคุณป้อนพารามิเตอร์ทั้งหมดให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
    กดปุ่ม Buy เพื่อวางตำแหน่ง long position ในราคา ask price ปัจจุบัน
     กดปุ่ม Sell เพื่อวางตำแหน่ง short position ในราคา bid price ปัจจุบัน
อีกวิธีสำหรับการเปิดออเดอร์ที่มีความรวดเร็วมากคือการใช้ฟังก์ชั่นของ Hide Trade panel โดยมีคีย์ลัดคือ Alt + T ซึ่งฟังก์ชั่นนี้จะอยู่มุมซ้ายบนของหน้าต่าง MT4 มีสัญญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยม สามารถกรอกปริมาณการซื้อขายหรือ Lot Size แล้วเลือกวาง Position Trade ได้เลยว่าจะเข้า BUY หรือเข้า SELL ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : จากฟังก์ชั่น Hide Trade Panel โดยการกดคีย์ลัด Alt + T หรือกดที่สัญญลักษณ์สามเหลี่ยมมุมซ้ายบน ทำการเปลี่ยนจำนวน Lot แล้วเลือกได้เลยว่าจะเปิดออเดอร์ SELL หรือ BUY  ต่อไป 

การตั้งการค่าการซื้อขายล่วงหน้า
    ซึ่งมีวิธีการตั้งค่าอยู่ 2 รูปแบบคือ 
1. การเปิดฟังก์ชั่นซื้อขายล่วงหน้าด้วย ฟังก์ชั่น Pending Order โดยการใช้ Menu Trade (F9)
2. การเปิดฟังก์ชั่นซื้อขายล่วงหน้าจากหน้าต่าง MT 4 เลย 
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องของการตั้งค่าซื้อขายล่วงหน้านั้น มาดูรูปแบบของประเภทการเปิดออเดอร์กันก่อน โดยจะมีดังต่อไปนี้ 

ประเภท Limit Order
      หากจะพูดง่ายๆ Limit ดูคล้ายกับการเข้า Order ในจังหวะที่กราฟย่อตัว
      Buy Limit เอาเป็นว่าพูดให้เห็นภาพเลยแล้วกันครับ สมมุติว่า ตอนนี้กำลังมองว่าเป็นเทรนขึ้นชัดเจน แต่ยังไม่กล้าที่จะเข้า BUY ในทันที จึงรอจังหวะที่กราฟพักตัวลงมา การตั้ง Buy Limit จะตั้งค่าการเข้าซื้อล่วงหน้าในลักษณะที่ Price อยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบันนั่นเอง เมื่อกราฟย่อลงมาถึงจุดสั่งซื้อ คำสั่งเปิด Buy ก็จะทำงานทันที เราเรียกการใช้คำสั่งซื้อล่วงหน้าลักษณะนี้ว่า Buy Limit

     Sell Limit เช่นเดียวกับ Buy Limit เพียงแค่เปลี่ยนทิศทางกัน เพื่อรอสัญญานการกลับตัวของกราฟ ในทิศทางของเทรนลงอีกครั้ง โดยการตั้งจุด Sell Limit นั้น ต้องตั้งเส้นราคา Price ให้สูงกว่าราคาปัจจุบัน เมื่อกราฟเข้าสัญญาณ คำสั่งเปิด Sell ก็จะทำงานทันที เราเรียกการใช้คำสั่งนี้ว่า Sell Limit

ประเภท Stop Order
     หาก Limit Order เป็นการรอเข้าเมื่อสิ้นสุดการกลับตัว Stop Order ก็คือการเข้า Order ตามเทรน นั้นเอง
     Buy Stop เป็นการตั้ง Pending Order ณ จุดที่สูงกว่าปัจจุบัน เพราะเราคาดการณ์แล้วว่ากราฟจะยังวิ่งเป็นเทรนขึ้นต่อไปอีกระยะ และสามารถทำกำไรได้ (ราคาปัจจุบันที่จะตั้ง Order ต้องต่ำกว่าราคาที่จะเข้าทำ)

     Sell Stop เป็นการตั้ง Pending Order ณ จุดที่ต่ำกว่าปัจจุบัน เพราะเราคาดการณ์แล้วว่ากราฟจะยังวิ่งเป็นเทรนลงต่อไปอีกระยะ และสามารถทำกำไรได้ (ราคาปัจจุบันที่จะตั้ง Order ต้องสูงกว่าราคาที่จะเข้าทำ)

เมื่อเข้าใจว่ารูปแบบของการซื้อขายล่วงหน้านั้นเป็นแบบไหนก็จะมาต่อกันที่ วิธีการเปิดออเดอร์ซื้อขายล่วงหน้ากัน ซึ่งก็จะมีอยู่ 2 วิธีคือจากที่กล่าวมาข้างต้น 
1. การเปิดฟังก์ชั่นซื้อขายล่วงหน้าด้วย ฟังก์ชั่น Pending Order โดยการใช้ Menu Trade (F9)
2. การเปิดฟังก์ชั่นซื้อขายล่วงหน้าจากหน้าต่าง MT 4 เลย

วิธีการเปิดออเดอร์ซื้อขายล่วงหน้าจากการใช้งานฟังก์ชั่น New Order (F9)

อธิบายจากภาพ : ให้เราใส่ Lot ที่ต้องการเปิดออเดอร์ซื้อขายล่วงหน้าก่อน และหมวด Type  ในตอนแรกจะเป็น Market Execution ซึ่งจะเป็นฟังก์ชั่นสำหรับการเปิดออเดอร์ทันที ให้เราทำการเปลี่ยนเป็น Pending Order จะได้ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าเมื่อเราเปลี่ยนเป็นหมวด Pending Order นั้น ฟังก์ชั่นการตั้งค่าก็จะเปลี่ยนใหม่ โดยเราสามารถกำหนด Type เป็น Buy Limit – Sell Limit หรือเป็น Buy Stop – Sell Stop ได้ แล้วให้ใส่ราคาที่เรากำหนดเป้าหมายไว้ใน at price ด้วย แล้วกด Place เพียงเท่านี้ก็จะเปิดออเดอร์ซื้อขายล่วงหน้าได้
หมายเหตุ : การคลิกเครื่องหมายถูกที่หมวด Expiry นั้นจะเป็นการกำหนดอายุของการซื้อขายล่วงหน้าได้ โดยใช้เวลาอ้างอิงจาก Market Watch ซึ่งการกำหนดอายุของ Pending Order นั้นต้องตั้งค่าให้ห่างจากเวลาของ Market Watch 10 นาทีขึ้นไป เมื่อครบอายุของ Pending และราคาของกราฟไม่สามารถเข้าออเดอร์ล่วงหน้าให้เราได้ ฟังก์ชั่นอายุของออเดอร์ก็จะทำงานโดยการยกเลิกการซื้อขายล่วงหน้าออกไป 

วิธีการเปิดฟังก์ชั่นการซื้อขายล่วงหน้าจากหน้าต่าง MT4 
กรอก  Lot Size ลงบนฟังก์ชั่น Hide Trade Panel ก่อน เพื่อเป็นการยืนยันปริมาณการซื้อขายล่วงหน้า โดยมีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ :  เมื่อกรอก Lot Size ลงไปเรียบร้อย ให้คลิกขวาบนตำแหน่งที่ต้องการตั้งค่าการซื้อขายล่วงหน้าบน MT4 โดยการกำหนดราคาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นนี้ในคู่เงิน EUR/USD หากเราคาดการณ์ว่ากราฟจะมีแนวโน้มเป็นเทรนขึ้นยาวไปโดยเป้าหมายที่คาดว่ากราฟจะขึ้นนั้นจะไปที่ราคา 1.08250 เราก็สามารถตั้ง Pending Order ในตำแหน่งต้นๆ ก่อนที่กราฟจะวิ่งไปถึงจุดดังกล่าว สมมุติว่าเราต้องการตั้งการซื้อขายล่วงหน้าบริเวณราคา 1.07140 ก็จะได้ภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : คลิกขวาบนหน้าต่าง MT4 เลือก Buy Stop เนื่องจากคิดว่ากราฟจะวิ่งขึ้นไปที่ราคา 1.08250 ตำแหน่งที่เราคาดว่าจะได้เปรียบในเทรนขึ้นคือ 1.07140 นั่นคือตั้งค่าการซื้อขายล่วงหน้าไว้ที่จุดดังกล่าว ก็จะได้ภาพตัวอย่างในขั้นต่อไปดังนี้

อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ามีเส้น Buy Stop อยู่ซึ่งเป็นการตั้งการซื้อขายล่วงหน้าทีราคา 1.07140 หากเราอยากเปลี่ยนแปลงราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไปราคาอื่น ก็สามารถขยับเส้น Buy Stop เลื่อนได้ตามใจชอบ 


Close Order 
    ในการปิดออเดอร์หรือคัตออเดอร์นั้นจะส่งคำสั่งปิดได้ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ค้างอยู่ในพอร์ตตามเวลาที่ตลาด ฟอเร็กซ์ยังคงเปิดการอยู่ เราสามารถส่งคำสั่งปิดออเดอร์ได้ 2 วิธีคือ
1. การกด Close Order จากการคลิกที่ออเดอร์นั้นๆ 
2. การกดเครื่องหมาย x ที่ด้านขวาสุดของออเดอร์นั้นๆ 

การ Close Order จากการดับเบิ้ลคลิกที่ออเดอร์ที่ต้องการปิด
   ทำได้โดยการดับเบิ้ลคลิกที่ออเดอร์ที่ต้องการปิดหรือคัตออเดอร์ทิ้งโดยทำได้จากภาพตัวอย่างดังนี้

อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่าในเมนูของ Terminal มีอยู่ 1 ออเดอร์ ซึ่งหากเราต้องการจะปิด ให้เรานั้นทำการ ดับเบิ้ลคลิกที่บริเวณไหนก็ได้ที่เป็นส่วนของออเดอร์ ยกเว้นส่วนของ S/L และ T/P ซึ่งจะเป็นการตั้งค่า Take Profit หรือการตั้งค่า Stop Loss โดยทำการดับเบิ้ลคลิกที่ออเดอร์เรียบร้อยแล้ว จะได้ภาพดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : ในจุดที่เป็นลูกศรที่เป็นสีแดงนั้นเป็นแถบสำหรับการ Close Order โดยผลกำไรและขาดทุนจะถูกคิดคำนวณเข้าพอร์ตลงทุนทันทีหลังจากที่ทำการ Close Order โดยการคลิกที่แถบสีเหลืองดังกล่าว 
ข้อแนะนำเพิ่มเติม : จะมีการ Close Order ที่เป็นการลด Lot Size หรือเรียกว่าการหั่น Lot Size ของออเดอร์ที่มีอยู่ เพื่อลดปริมาณการซื้อขายลง หรืออาจจะ Close Order เพื่อเก็บกำไรบางส่วน และอีกบางส่วนถือออเดอร์เพื่อทำกำไรต่อ โดยมีวิธีการลด Lot Size ลงดังภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้

อธิบายได้จากภาพ : ในกรณีต้องการปิดออเดอร์บางส่วนหรือต้องการลด Lot Size ลง ให้เราทำการปรับ Volume ลดลงโดยยกตัวอย่างเราถือออเดอร์ออยู่โดยใช้ลอต 1.00 หากต้องการลดขนาดของ Lot Size ลงก็ปรับ Volume ให้ลดลงกว่าเดิมเช่นเลือกลดขนาด Lot Size ลงครึ่งนึงก็เลือก 0.5 แล้วก็กด Close Order เราก็จะถือครองออเดอร์ที่เหลือจากลอต 1.00 เป็น 0.5 นั่นเอง หลังจาก Close Order แล้วนั้น ออเดอร์ที่เราปิดไป หรือหั่นทิ้งไปจำนวนครึ่งนึงคือ Lot Size 0.5 นั้น ก็จะถูกคำนวณผลของกำไร – ขาดทุนกับพอร์ตอของเราทันที

การ Close Order ด้วยการกดเครื่องหมายกากบาทที่ด้านขวาสุดของออเดอร์
   ทำได้โดยการกดเครื่องหมายกากบาท (X) ที่ด้านขวาของออเดอร์ที่เราต้องการปิดลง ดังภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้ 

จากภาพจะเห็นว่าเราถือครองออเดอร์อยู่ 2 ตัวหากเรากดคลิกที่เครื่องหมายกากบาท (X) เพียงเท่านี้ออเดอร์ของเราก็จะถูกปิดลงหรือถูกคัตทิ้งออกไป