Pip และ Point คือ หน่วยวัดการเคลื่อนที่ของราคาคู่เงินนั้นๆ จากจุดหนี่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยนับจากทศนิยมตัวสุดท้ายของราคาคู่เงินไล่ขึ้นมา ซึ่งถ้าหากจะนับหน่วยเป็น Pip จะมีวิธีการนับตั้งแต่ทศนิยมตัวที่ 4 (ยกเว้นคู่เงินที่มีค่าเงิน JPY เป็นสกุลเงินรองจะนับจากทศนิยมตัวที่ 2) และถ้าหากจะนับหน่วยเป็น Point จะมีวิธีการนับตั้งแต่ทศนิยมตัวที่ 5 (ยกเว้นคู่เงินที่มีค่าเงิน JPY เป็นสกุลเงินรองจะนับจากทศนิยมตัวที่ 3)
ส่วนใหญ่แล้วการเรียกชื่อหน่วยของ Pip และ Point ที่นิยมเรียกกันจะขึ้นอยู่กับชนิดของโบรกเกอร์ ซึ่งมีการแบ่งประเภทออกเป็น 2 แบบคือ
1. โบรกเกอร์ประเภท Fix Spread เช่น Forex4you และ Instaforex
2. โบรกเกอร์ประเภทไม่ Fix Spread เช่น Exness, FBS, XM และ Paperstone
ส่วนใหญ่แล้วการเรียกชื่อหน่วยของ Pip และ Point ที่นิยมเรียกกันจะขึ้นอยู่กับชนิดของโบรกเกอร์ ซึ่งมีการแบ่งประเภทออกเป็น 2 แบบคือ
1. โบรกเกอร์ประเภท Fix Spread เช่น Forex4you และ Instaforex
2. โบรกเกอร์ประเภทไม่ Fix Spread เช่น Exness, FBS, XM และ Paperstone
ข้อแตกต่างระหว่างโบรกเกอร์ทั้ง 2 แบบได้ดังต่อไปนี้ทั้ง
โบรกเกอร์ประเภท Fix Spread
การ Fix Spread หรือ สเปรดคงที่นั้นส่วนใหญ่จะใช้หน่วยวัดการเคลื่อนที่ของราคาคู่เงินเป็น Pip เพราะว่าในคู่สกุลเงินทั่วไป จะมีทศนิยมอยู่ 4 ตำแหน่ง และคู่เงินที่มีค่าเงิน JPY เป็นค่าเงินรองจะมีทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งจะนับการเคลื่อนที่ในทุกๆ 1 หน่วยเท่ากับ 1 Pip โดยมีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
การ Fix Spread หรือ สเปรดคงที่นั้นส่วนใหญ่จะใช้หน่วยวัดการเคลื่อนที่ของราคาคู่เงินเป็น Pip เพราะว่าในคู่สกุลเงินทั่วไป จะมีทศนิยมอยู่ 4 ตำแหน่ง และคู่เงินที่มีค่าเงิน JPY เป็นค่าเงินรองจะมีทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งจะนับการเคลื่อนที่ในทุกๆ 1 หน่วยเท่ากับ 1 Pip โดยมีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 : กราฟคู่เงิน GBPUSD วันที่ 18 พฤศจิการยน 2559 (ทศนิยม 4 หลัก)
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ากราฟคู่เงิน GBPUSD ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 มีการเคลื่อนที่จากราคา 1.2435 มายัง 1.2301 จะคำนวณได้ว่า 1.2435 – 1.2301 = 0.0134 เมื่อนับจากจุดทศนิยมตัวที่ 4 ไล่ขึ้นมาแล้วนั้นจะสรุปได้ว่า กราฟมีการเคลื่อนที่ของราคาจากจุดสูงสุด มายังต่ำสุด 134 Pip นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 2 : กราฟคู่เงิน USDJPY วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 (ทศนิยม 2 หลัก)
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ากราฟคู่เงิน USDJPY ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 มีการเคลื่อนที่จากราคา 110.84 ไปยัง 112.97 จะคำนวณได้ว่า 112.97 – 110.84 = 2.13 เมื่อนับจากจุดทศนิยมตัวที่ 2 ไล่ขึ้นมาแล้วนั้นจะสรุปได้ว่า กราฟมีการเคลื่อนที่ของราคาจากจุดต่ำสุด ไปยังต่ำสุด 213 Pip นั่นเอง
หมายเหตุ : ในการเรียกชื่อ Pip และ Point สำหรับโบรกเกอร์ที่ Fix Spread นั้น สามารถใช้หน่วยวัดการเคลื่อนที่ของราคาคู่เงินแบบไหนก็ได้ แต่ที่นิยมกันมักจะใช้คำว่า Pip มากกว่า Point เนื่องจากคำว่า Pip เป็นชื่อที่เป็นหน่วยวัดสากลในตลาดฟอเร็กซ์ ถ้าหากใช้หน่วยเป็น Point มักจะมีปัญหาในการสื่อสารกับ บุคคลที่ใช้โบรกเกอร์ที่ไม่มีการ Fix Spread ซึ่งมักจะเกิดความสับสนและเข้าใจผิดกันได้ง่าย
ข้อดีของประเภทโบรกเกอร์ Fix Spread
- ช่วงที่กราฟมีความผันผวน ค่าสเปรด จะไม่เปลี่ยนแปลงทำให้ได้เปรียบบางในสถาณการณ์ในการเข้าออเดอร์
- ไม่มีการรีโควต (Requote) ทำให้ได้เปรียบในการเข้าซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว
- ช่วงที่กราฟมีความผันผวน ค่าสเปรด จะไม่เปลี่ยนแปลงทำให้ได้เปรียบบางในสถาณการณ์ในการเข้าออเดอร์
- ไม่มีการรีโควต (Requote) ทำให้ได้เปรียบในการเข้าซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว
** รีโควต (Requote) คือการเปลี่ยนแปลงของราคาคู่เงินกระทันหันที่ส่งผลให้การส่งคำสั่งการซื้อขายเกิดความล้มเหลวในออเดอร์นั้นๆ **
ข้อเสียของประเภทโบรกเกอร์ Fix Spread
- เนื่องจากมีค่าสเปรด สูงในระดับนึง การเทรดสั้นหรือ Scalping จึงเสียเปรียบในการเข้าออเดอร์
โบรกเกอร์ประเภทไม่ Fix Spread
การไม่ Fix Spread ในที่นี้คือสเปรดแกว่งไปมาได้ในในระดับที่โบรกเกอร์กำหนดนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีหน่วยวัดการเคลื่อนที่ของราคาคู่เงินเป็น Point หรือ “จุด” โดยในคู่สกุลเงินทั่วไป จะมีทศนิยมอยู่ 5 ตำแหน่ง และคู่เงินที่มีค่าเงิน JPY เป็นค่าเงินรองจะมีทศนิยม 3ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งจะนับการเคลื่อนที่ในทุกๆ 1 หน่วยเท่ากับ 1 Point โดยมีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 : กราฟคู่เงิน GBPUSD วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 (ทศนิยม 5 หลัก)
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ากราฟคู่เงิน GBPUSD ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 มีการเคลื่อนที่จากราคา 1.24358มายัง 1.23022 จะคำนวณได้ว่า 1.24358 – 1.23022 = 0.01336 เมื่อนับจากจุดทศนิยมตัวที่ 5 ไล่ขึ้นมาแล้วนั้นจะสรุปได้ว่า กราฟมีการเคลื่อนที่ของราคาจากจุดสูงสุด มายังต่ำสุด 1336 Point หรือ 1336 จุด นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 2 : กราฟคู่เงิน USDJPY วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 (ทศนิยม 3 หลัก)
อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ากราฟคู่เงิน USDJPY ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 มีการเคลื่อนที่จากราคา 110.844ไปยัง 112.985 จะคำนวณได้ว่า 112.985 – 110.844 = 2.141 เมื่อนับจากจุดทศนิยมตัวที่ 3 ไล่ขึ้นมาแล้วนั้นจะสรุปได้ว่า กราฟมีการเคลื่อนที่ของราคาจากจุดต่ำสุด ไปยังต่ำสุด 2141 Point หรือ 2141 จุด นั่นเอง
หมายเหตุ : สำหรับโบรกเกอร์ที่เป็นประเภทไม่ Fix Spread นั้นมักนิยมใช้หน่วยวัดการเคลื่อนที่ของราคาคู่เงินเป็น “จุด” หรือเป็น point มากกว่ากว่า Pip แต่ถ้าหากจะเรียกเป็น Pip ให้ถูกวิธีนั้นต้องแปลงหน่วยของ Point หารด้วย 10 (Point / 10 = Pip) หรืออีกความหมายนึงก็คือ 10 Point = 1 Pip
ยกตัวอย่าง : เราเทรดได้กำไร 300 จุด ถ้าหากแปลงเป็น Pip แสดงว่าเราได้กำไร 30 Pip นั่นเอง
ยกตัวอย่าง : เราเทรดได้กำไร 300 จุด ถ้าหากแปลงเป็น Pip แสดงว่าเราได้กำไร 30 Pip นั่นเอง
ข้อดีของประเภทโบรกเกอร์ไม่ Fix Spread
- มีสเปรดที่ต่ำ
- มีสเปรดที่ต่ำ
ข้อเสียของประเภทโบรกเกอร์ไม่ Fix Spread
- ช่วงที่กราฟมีความผันผวนมากๆ ค่าสเปรดจะมีความกว้างมากทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของราคาในการเข้าออเดอร์
- มีการรีโควต (Requote) ในช่วงที่ราคาของคู่เงินนั้นไม่คงที่หรือผันผวนมาก ทำให้การซื้อขายเป็นปัญหา
- ช่วงที่กราฟมีความผันผวนมากๆ ค่าสเปรดจะมีความกว้างมากทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของราคาในการเข้าออเดอร์
- มีการรีโควต (Requote) ในช่วงที่ราคาของคู่เงินนั้นไม่คงที่หรือผันผวนมาก ทำให้การซื้อขายเป็นปัญหา
** รีโควต (Requote) คือการเปลี่ยนแปลงของราคาคู่เงินกระทันหันที่ส่งผลให้การส่งคำสั่งการซื้อขายเกิดความล้มเหลวในออเดอร์นั้นๆ **