Long & Short, Buy & Sell


คำว่า Long & Short นั้น เป็นคำที่มักในยินในกลุ่มตลาดหุ้น หรือตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง Long นั้นหมายถึงการเข้าซื้อหุ้น เมื่อคิดว่ากราฟราคาหุ้นนั้นเป็นในทิศทางขึ้น ส่วน Short นั้นมาจากคำว่า Short Selling  มี 2 วิธีดังนี้

    วิธีที่ 1. (Short Sell Stock)   หรือการยืมหุ้นบุคคลที่สามมาขายหรือการยืมหุ้นบริษัทเพื่อทุบให้ราคาหุ้นร่วงลงภายใต้สัญญาในการ Short หุ้นนั้นเมื่อยืมหุ้นมาทุบก็ต้องคืนหุ้นตามระยะเวลาที่สัญญากำหนดพร้อมกับเงินค่าชดเชยด้วย โดยเหตุผลที่ทำการ Short หรือการทุบหุ้นนั้น เพราะต้องการเข้าซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าเดิม เมื่อได้ราคาดีๆ แล้วก็คืนหุ้นไปประมาณนี้ 

    วิธีที่ 2. (Short against port)   เป็นการขายหุ้นที่ตนเองมีอยู่ออกไปเมื่อคิดว่าราคาของหุ้นที่เราถือครองนั้นจะร่วง หรือตกลงจากราคาหุ้นที่เป็นอยู่ แล้วรอจังหวะการซื้อกลับคืนในราคาที่ดีกว่าเดิม เมื่อเราขายหุ้นออกไปได้ในราคาที่สูงกว่าราคาที่เราซื้อกลับมาคืนนั้น เราก็จะได้กำไรจากการ Short ครั้งนี้แถมมีหุ้นจำนวนเท่าเดิมเมื่อซื้อคืนกลับมา 

    ส่วนในตลาดฟอเร็กซ์นั้นจะใช้คำว่า Buy กับ Sell  เป็นส่วนใหญ่ จะมีความแตกต่างจากตลาดหุ้นมากเพราะสามารถทำกำไรได้ในทันทีทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งการ Buy ในคู่เงินนั้นๆ เพื่อทำกำไรในลักษณะของกราฟที่มีทิศทางหรือแนวโน้มที่เป็นขาขึ้น ส่วนการ Sell นั้น เป็นการทำกำไรในลักษณะของกราฟที่มีทิศทางหรือแนวโน้มที่เป็นขาลง โดยที่ตลาดฟอเร็กซ์ จะไม่มีการยืมหุ้นเพื่อทำการทุบค่าเงินให้กราฟลงมา แต่จะเป็นการเปิดออเดอร์ Sell เพื่อทำกำไรจากกราฟที่มีลักษณะเป็นขาลง

นิยามของการเลือกเปิดออเดอร์ในตลาดฟอเร็กซ์
    ในตลาดหุ้นนั้นการวิเคราะห์กราฟจะเป็นการวิเคราะห์จากรายชื่อหุ้นเพียงอย่างเดียว แต่กับตลาดฟอเร็กซ์ จะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคู่เงินดังกล่าว ซึ่งมาจากค่าเงินพื้นฐานและค่าเงินอ้างอิง ที่มีความแข็งค่าหรืออ่อนค่าโดยตัวของค่าเงินเอง การที่กราฟนั้นเป็นขาขึ้นและเป็นขาลงมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้

ปัจจัยที่จะส่งผลให้กราฟเป็นเทรนขาขึ้น 
    ส่วนใหญ่นั้นกราฟที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางค่าขึ้นนั้น จะมีผลมาจากค่าเงินพื้นฐานมีความแข็งค่าขึ้น หรือค่าเงินอ้างอิงนั้นอ่อนค่าลงนั่นเอง หากจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ สกุลเงินตัวหน้าแข็งค่าขึ้นหรือสกุลเงินตัวหลังอ่อนค่าลง โดยมีภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้ 

อธิบายจากภาพ : ตัวอย่างเป็นคู่เงิน EUR/USD โดยใน 1 คู่สกุลเงินนั้นจะประกอบไปด้วย ค่าเงินพื้นฐานและค่าเงินอ้างอิง ซึ่งเหตุการณ์ที่กราฟ จะมีลักษณะเป็นเทรนขาขึ้นนั้น จากตัวอย่างค่าเงิน EUR ต้องมีการแข็งค่าขึ้นหรือแข็งค่ากว่า USD ที่ราคาปัจจุบัน หรือค่าเงิน USD จะต้องอ่อนค่าลงจึงจะส่งผลให้กราฟเป็นเทรนขาขึ้นนั่นเอง ซึ่งผลสรุปที่ได้นั้นจะส่งผลให้เกิดกราฟดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : จะเห็นว่ากราฟนั้นมีลักษณะในเทรนขาขึ้น เป็นผลมาจากค่าเงิน EUR ที่เกิดการแข็งค่าขึ้น หรือ USD อาจจะอ่อนค่าลงในช่วงเวลาดังกล่าว เราสามารถเปิดออเดอร์ BUY (Long) เพื่อทำกำไรเทรนขาขึ้นได้ 
หมายเหตุ : ในช่วงตลาดที่มีแนวโน้มเป็นเทรนขาขึ้น เราจะเรียกกราฟช่วงเวลานี้ว่าเป็น Bull Market ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตลาดการลงทุน โดยมีรูปแบบเป็นกระทิง มีสีประจำตัวคือสีเขียว 

ปัจจัยที่จะส่งผลให้กราฟเป็นเทรนขาลง
    การที่กราฟคู่เงินจะมีลักษณะที่เป็นเทรนลงนั้น ค่าเงินพื้นฐานจะต้องมีการอ่อนค่าลงหรือค่าเงินอ้างอิงมีการขยับของราคาที่แข็งค่าขึ้น โดยมีภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : ตัวอย่างเป็นคู่เงิน GBP/USD โดยใน 1 คู่สกุลเงินนั้นจะประกอบไปด้วย ค่าเงินพื้นฐานและค่าเงินอ้างอิง ซึ่งเหตุการณ์ที่กราฟ จะมีลักษณะเป็นเทรนขาลงนั้น จากตัวอย่างค่าเงิน GBP ต้องมีการอ่อนค่าลง หรือค่าเงิน USD จะต้องแข็งค่าขึ้นจึงจะส่งผลให้กราฟเป็นเทรนขาลงนั่นเอง ซึ่งผลสรุปที่ได้นั้นจะส่งผลให้เกิดกราฟดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : กราฟนั้นมีลักษณะเป็นเทรนลง ซึ่งมีผลมาจากค่าเงิน GBP อ่อนค่าลงอย่างหนัก ประกอบกับค่าเงิน USD มีการแข็งค่าขึ้นตามลำดับของตลาดค่าเงิน ส่งผลให้กราฟดังภาพตัวอย่างวิ่งลงมากกว่า 2000 จุด (200 Pip) เป็นเทรนลงที่ค่อนข้างใหญ่เหมือนกันสำหรับกราฟตัวอย่าง โดยถ้าหากได้ทำการเปิดออเดอร์ SELL (Short) ในลักษณะของกราฟดังกล่าว ก็จะสามารถเก็บกำไรได้อย่างมากเลยทีเดียว 
หมายเหตุ : ในช่วงตลาดที่มีแนวโน้มเป็นเทรนขาลง เราจะเรียกกราฟช่วงเวลานี้ว่าเป็น Bear Market ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตลาดการลงทุน โดยมีรูปแบบเป็นหมี มีสีประจำตัวคือแดง

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : ไขข้อสงสัย !! เราจะรู้ได้ยังไงว่าค่าเงินไหนมีการแข็งค่า หรืออ่อนค่าไปเท่าไร แล้วถ้าเกิดว่าค่าเงินพื้นฐานและค่าเงินอ้างอิงแข็งค่าหรืออ่อนค่าพร้อมกันกราฟจะมีลักษณะยังไง ?? 
คำตอบ : ในกรณีที่เราจะรู้ได้ไงว่าค่าเงินไหนมีการแข็งค่าหรืออ่อนค่านั้น มีวิธีการง่ายๆ ก็คือ 
ทำการเปรียบเทียบกราฟคู่เงินอื่น เพื่อใช้หาข้อมูลว่า กราฟคู่เงินที่เราเล็งไว้นั้น มีแรงเคลื่อนที่มาจากคู่เงินไหนในเวลาดังกล่าว 
สมมุติเช่น : เรากำลังดูกราฟคู่เงิน EUR/USD อยู่และมองว่ากราฟมันเป็นเทรนขึ้น แต่เราอยากทราบว่าเหตุผลที่กราฟเป็นเทรนขึ้นนั้นได้รับแรงหรืออิทธิพลมาจากค่าเงินไหนเป็นหลัก จะเป็นค่าเงิน EUR ที่แข็งค่าขึ้นหรือ USD ที่อ่อนค่าลงกันแน่ ก็ให้เราเปิดกราฟคู่เงินอื่นดู ที่มีสกุลเงินที่เราวิเคราะห์ร่วมด้วย อย่างเช่น EUR/JPY มีตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : กราฟนั้นได้วิ่งขึ้นไปประมาณ 700 จุด ของคู่เงิน EUR/USD เราอยากทราบว่า เหตุการณ์นี้ค่าเงิน EUR หรือ USD กันแน่ที่เป็นปัจจัยสำคัญของเหตุการณ์นี้ ก็ให้เราเปิดดูกราฟคู่เงิน EUR/JPY จะได้ภาพเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

อธิบายจากภาพ : กราฟคู่เงิน EUR/JPY ก็มีการดีดตัวขึ้นเหมือนกราฟคู่เงิน EUR/USD ที่เราวิเคราะห์อยู่ ก็จะสรุปได้ว่าค่าเงิน EUR นั้นมีการแข็งค่าจริง
แต่ถ้ากราฟมันขัดกัน หรืออยากจะพิสูจน์ว่า ในคู่เงิน EUR/JPY ที่กราฟขึ้นนั้น ก็อาจจะมาจากค่าเงิน JPY ที่อ่อนค่าก็ได้ ให้เราพิสูจน์โดยการเปิดกราฟคู่เงิน USD/JPY เพื่อสังเกตว่า JPY มีผลออกมาที่จะกดดันให้กราฟ EUR/JPY ขึ้นหรือไม่ และเพื่อให้ทราบว่า USD มันอ่อนค่าจริงหรือเปล่า ไปดูตัวอย่างคู่เงิน USD/JPY กันครับ

อธิบายจากภาพ : อ๊ะ อ้าว !! ทำไมกราฟคู่เงิน USD/JPY ถึงขึ้นเหมือนกัน แล้ววิเคราะห์แบบไหนถึงจะถูก เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้ยืดเยื้อจนเกินไปจะเฉลยให้ฟังเลยแล้วกันครับสำหรับเคสตัวอย่างนี้

เฉลยเคสตัวอย่างข้างต้น : ในช่วงเวลาที่กราฟ EUR/USD นั้นพุ่งขึ้นไปนั้น เป็นผลมาจากค่าเงิน EUR แข็งค่าเงินจริงจากข่าวค่าเงิน EUR – Minimum Bid Rate ที่ประกาศให้อัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นผลดีในช่วงเวลาดังกล่าว และก็ยังส่งผลให้คู่เงิน EUR/JPY ขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ในเวลาต่อมาค่าเงิน USD ก็แข็งค่ากระทันหัน จึงส่งผลต่อค่าเงินแทบทุกสกุลเงินเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะราคาทองคำและค่าเงิน JPY ที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้กราฟ USD/JPY ดีดขึ้นอย่างมาก อีกทั้งค่าเงิน EUR ในเวลาต่อมาก็อ่อนค่าลงเนื่องจากเกิดแรงขายและหันไปหนุนค่าเงิน USD กัน ก็เลยส่งผลให้กราฟ EUR/USD ดิ่งลงมากกว่า 1500 จุด มีตัวอย่างกราฟ EUR/USD ในปัจจุบันเป็นดังนี้

อธิบายจากภาพ : กราฟ EURUSD ดิ่งลงหนักมากในเวลาต่อมา เหตุผลมาจาก EUR อ่อนค่าลงประกอบกับ USD ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้เกิดแรงที่ส่งเสริมกันของกราฟในทิศทางขาลง จากทั้ง 2 ค่าเงินดังกล่าว
จุดประสงค์ในการนำเสนอ : ในตลาดฟอเร็กซ์มักจะมีความผันผวนสูงมาก บางครั้งกราฟเป็นเทรนขึ้นอยู่ดีๆ อาจจะเปลี่ยนเป็นเทรนขาลงในเวลาไม่ถึง 10 นาทีด้วยซ้ำ และยิ่งค่าเงินส่งเสริมกันในทิศทางเดียวกัน ก็ยิ่งทำให้กราฟมีการเคลื่อนของราคาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย 
(ข้อมูลจริง: จากตลาดฟอเร็กซ์วันที่ 8 ธันวาคม 2559 เวลา 19.45 น. เป็นต้นไป) 

     “BUY (Long) คือการเข้าทำกำไรในทิศทางที่กราฟเป็นเทรนขาขึ้น 
    SELL (Short) คือการเข้าทำกำไรในทิศทางที่กราฟเป็นเทรนขาลง”